Bangkok, Thailand


วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

อักษรอินุกติตุต

อักษรอินุกติตุต

อักษรอินุกติตุต พัฒนามาจากอักษรครี ซึ่งมาจากอักษรโอจิบเวอีกต่อหนึ่ง อักษรทั้ง 2 ชนิดประดิษฐ์โดย เจมส์ อีวาน มิชชันนารีชาวตะวันตก เมื่อราวพ.ศ. 2383 – 2403 และนำมาปรับปรุงเป็นอักษรอินุกติตุตโดยสถาบันวัฒนธรรมอีนูอิต แต่อักษรอินุกติตุตใช้ในแคนาดาเท่านั้น ในกรีนแลนด์ และอลาสกา เขียนด้วยอักษรละติน ในไซบีเรียเขียนด้วยอักษรซีริลลิก
ภาษาอินุกติตุต ซึ่งเป็นภาษาตระกูลเอสกิโม-อเลิต มีผู้พูดในกรีนแลนด์ แคนาดา ไซบีเรีย และอลาสกา ราว 65,000 คน

พอล แองคา

พอล แองคา

ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อจริง พอล อัลเบิร์ต แองคา
เกิด 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 (อายุ 68 ปี)
แหล่งกำเนิด ออตทาวา รัฐออนแทริโอ แคนาดา
แนวเพลง ป็อป
แจ๊ซ
ร็อก
อาชีพ นักร้อง
นักแต่งเพลง
ช่วงปี 1955 - ปัจจุบัน
พอล อัลเบิร์ต แองคา (อังกฤษ: Paul Albert Anka), OC เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 ในออตทาวา รัฐออนแทริโอ เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดงชาวแคนาดา ที่มีเชื้อสายเลบานอน[1] เขาเป็นพลเมืองอเมริกันในปี 1990

แองคา โด่งดังในฐานะทีนไอดอลในช่วงปลายทศวรรษ 1950 และทศวรรษ 1960 เขามีเพลงดังอย่าง "Diana", "Lonely Boy", และ "Put Your Head on My Shoulder" เขายังเขียนเพลงดังที่เป็นที่รู้จักอย่างเพลงธีม The Tonight Show Starring Johnny Carson และเพลงดังของทอม โจนส์ ที่ชื่อ She's A Lady และแต่งเนื้อให้กับเพลงประจำตัวของแฟรงก์ ซินาตรา ที่ชื่อ "My Way"

เซลีน ดิออน

เซลีน ดิออน

ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อจริง เซลีน มารี โกลแดต ดียง
(Céline Marie Claudette Dion)
วันเกิด 30 มีนาคม พ.ศ. 2511
แหล่งกำเนิด ควิเบก ,แคนาดา
แนวเพลง ป็อป, บัลลาด, ร็อก
อาชีพ นักร้อง
ปี พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน
ค่าย โคลัมเบีย โซนี่ บีเอ็มจี
เว็บไซต์ celinedion.com

ดอกเตอร์เซลีน มารี โกลแดต ดียง (โรมัน: Céline Marie Claudette Dion) หรือเซลีน ดียง (โรมัน: Céline Dion; คำอ่าน: /seɪlɪn dɪɒn/ (ข้อมูล)) หรือเซลีน ดิออน ตามสำเนียงภาษาอังกฤษ (สมาชิกราชอิสริยาภรณ์แห่งแคนาดาชั้นจตุรถาภรณ์ (OC) , สมาชิกราชอิสริยาภรณ์แห่งควิเบกชั้นจตุรถาภรณ์ (OQ) และสมาชิกรัฐอิสริยาภรณ์เลชียงโดเนอร์แห่งฝรั่งเศสชั้นเบญจมาภรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2511 เป็นนักร้อง นักประพันธ์ดนตรี และนักแสดงชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส เซลีนเกิดในครอบครัวใหญ่ เริ่มต้นการเป็นนักร้องโดยใช้ภาษาฝรั่งเศส หลังจากที่เรอเน อองเชลีล ผู้จัดการส่วนตัวของเธอ (ต่อมาคือสามี) จำนองบ้านของเขาเพื่อเป็นทุนในการออกอัลบั้ม ลาวัวดูบองดีเยอ อัลบั้มภาษาฝรั่งเศสชุดแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 เซลีนได้ออกอัลบั้มภาษาอังกฤษอัลบั้มแรกในชื่อว่า ยูนิซัน อันเป็นจุดเริ่มต้นของเธอในวงการเพลงป๊อปสากลในสหรัฐอเมริกา และโลก

เซลีนเป็นที่รู้จักในระดับสากลในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยได้รับรางวัลทั้งจากการประกวดการขับร้องเพลงในเทศกาลการขับร้องสากล จัดโดยบริษัท ยามาฮ่า (อังกฤษ: Yamaha World Song Festival) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2525 และชนะการประกวดเพลงยูโรวิชัน ในปี พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นเธอได้ออกอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสอีกหลายชุดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 จนกระทั่งเธอได้เซ็นสัญญาสังกัดค่ายโซนีเรคอร์ดส ในปี พ.ศ. 2529 ระหว่างช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 เธอได้รับความช่วยเหลือจากเรอเน เซลีนประสบความสำเร็จทั่วโลกกับอัลบั้มภาษาอังกฤษ และอัลบั้มภาษาฝรั่งเศส กลายเป็นหนึ่งในศิลปินที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์วงการเพลงป๊อป อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เธอประสบความสำเร็จทั่วโลก เธอได้ประกาศพักงานวงการดนตรีชั่วคราวเพื่อเริ่มชีวิตครอบครัว และใช้เวลาอยู่กับสามีซึ่งขณะนั้นป่วยเป็นโรคมะเร็ง หลังจากนั้นเธอได้กลับมาสู่วงการเพลงอีกครั้งในปี พ.ศ. 2545 และเซ็นสัญญาในการแสดงชุด อะนิวเดย์... ที่โรงแรมซีซ่าส์พาเลซ ลาสเวกัส มลรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระยะเวลา 3 ปี (ภายหลังได้ขยายเป็น 5 ปี)
ดนตรีของเซลีนได้รับอิทธิพลในแนวดนตรีหลายแนว ตั้งแต่ป็อปปูลาร์, กอสเปล, บัลลาด, คลาสสิก, อาร์แอนด์บี, แจ๊ซ, ประสานเสียง และร็อก กับทั้งสหภาษาตั้งแต่ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษาอังกฤษ ภาษาแอฟริกาน และภาษาอิตาลี เซลีนได้รับข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ถึงความสามารถและพลังในการร้องเพลงของเธอ ในปี พ.ศ. 2547 เซลีนมียอดขายรวมมากกว่า 175 ล้านชุดทั่วโลก และได้รับรางวัลเวิลด์ มิวสิก อวอร์ดส สำหรับการก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในศิลปินหญิงที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาล นอกจากนี้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 โซนี่ บีเอ็มจีประกาศว่าเซลีน ดิออนมียอดขายกว่า 200 ล้านชุดทั่วโลก

ประวัติ
ก้าวแรกแห่งความสำเร็จ [2524-2530]

"ลาวัวดูบงดีเยอ" อัลบั้มแรกในชีวิตของเซลีนเซลีน ดิออน เกิดวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2511 ที่ชาร์เลอมาญ เขตชานเมืองทางตะวันออกของเมืองมอนทรีออล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา เป็นบุตรคนสุดท้องในบรรดาพี่น้อง 14 คน ของ Adhémar Dion และ Thérèse Tanguay ซึ่งเป็นชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส ครอบครัวนี้มีความผูกพันกับเสียงดนตรีเป็นอย่างมาก ดังเห็นได้จากการที่บิดาและมารดาตั้งชื่อเธอว่า "เซลีน" (ฝรั่งเศส: Celine) ตามบทเพลงชื่อ "เซลีน" อันเป็นผลงานการขับร้องโดย Hugues Aufray นักร้องชาวฝรั่งเศส เมื่อครั้งวัยเยาว์เซลีนร่วมร้องเพลงกับพี่น้องของเธอใน Le Vieux Baril บาร์เปียโนอันเป็นกิจการของครอบครัวเธอ และฝันที่จะเป็นนักร้อง โดยในปี พ.ศ. 2537 เซลีนให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร พีเพิล ว่า "ฉันคิดถึงครอบครัวและบ้านของฉัน แต่ฉันไม่เคยเสียใจที่ฉันเสียเวลาช่วงวัยรุ่นไป ฉันมีความฝันเดียว ฉันอยากเป็นนักร้อง"

เมื่ออายุ 12 ปี แม่และพี่ชายของเธอประพันธ์เพลงให้แก่เซลีน ซึ่งเป็นเพลงแรกในชีวิตของเธอ ชื่อ "เซอเนเตเกิงแรฟว์" (ฝรั่งเศส: Ce n'était qu'un rêve, "มันเป็นเพียงแค่ฝัน") ไมเคิล พี่ชายของเธอได้ส่งเพลงนี้ให้แก่เรอเน อองเชลีล หลังจากเรอเนได้ฟังเพลงนี้แล้ว จึงตัดสินใจปั้นนักร้องคนใหม่ขึ้น เขาจำนองบ้านของเขาเพื่อเป็นทุนในการออกอัลบั้มแรกให้กับเซลีนในชื่อว่า ลาวัวดูบองดีเยอ (ฝรั่งเศส: La voix du bon Dieu) (มีการเล่นคำโดยอาจหมายถึง "เสียงของพระเจ้า" หรือ "วิถีทางแห่งพระเจ้า") ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งกลายเป็นเพลงอันดับ 1 ในท้องถิ่นในเวลานั้น ดนตรีของเธอได้รับความนิยมมากขึ้น เมื่อเธอเข้าร่วมการประกวดการขับร้องเพลงในเทศกาลการขับร้องสากล จัดโดยบริษัท ยามาฮ่า (อังกฤษ: Yamaha World Song Festival) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เธอได้รับรางวัล "ขวัญใจนักดนตรี" จากการลงคะแนนเสียงของคณะดนตรีในวันดังกล่าว (อังกฤษ: Coveted Musician's Award for Top Performer) และได้รับเหรียญทองรางวัล "เพลงยอดเยี่ยม" ในเพลง "แตลมองเชดามูร์ปูร์ตัว" (ฝรั่งเศส: Tellement j'ai d'amour pour toi, "ฉันมีรักมากมายเพื่อคุณ")

ในปี พ.ศ. 2526 เซลีนเป็นนักร้องชาวแคนาดาคนแรกที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำของฝรั่งเศสในซิงเกิล "ดามูร์อูดามีตีเย" (ฝรั่งเศส: D'amour ou d'amitié, "รักหรือเพื่อน") เซลีนยังได้รับรางวัลเฟลิกซ์ในสาขา "นักร้องหญิงยอดเยี่ยม" (อังกฤษ: Best Female performer) และ "นักร้องหน้าใหม่แห่งปี" (อังกฤษ: Discovery of the Year) นอกจากนี้เซลีนยังประสบความสำเร็จมากขึ้นทั้งในยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย หลังจากเข้าร่วมประกวดร้องเพลงรายการยูโรวิชัน ในปี พ.ศ. 2531 โดยขับร้องเพลง "เนอปาร์เตปาซองมัว" (ฝรั่งเศส: Ne partez pas sans moi, "อย่าไปโดยไม่มีฉัน") อย่างไรก็ตามเธอก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา เหตุผลส่วนหนึ่งคือ เธอร้องเพลงภาษาฝรั่งเศส จนกระทั่งเมื่อเธออายุ 18 ปี เธอเห็นการแสดงของไมเคิล แจ็กสัน เธอบอกกับเรอเนว่าเธออยากเป็นนักร้องดั่งไมเคิล แจ็กสัน เรอเนมั่นใจในความสามารถของเธอ จึงเริ่มเปลี่ยนภาพลักษณ์ของเธอสู่ความเป็นสากลมากขึ้น อาทิ เข้ารับการผ่าตัดทางทันตกรรมเพื่อให้เธอดูดีขึ้น และเรียนภาษาอังกฤษกับ École Berlitz ในปี พ.ศ. 2532 ณ จุดนี้เองที่ได้ผันชีวิตของเธอสู่นักร้องระดับสากล

ก้าวแรกในสหรัฐอเมริกา [2531-2535]
หลังจากการเรียนภาษาอังกฤษได้ประมาณ 2 ปี เซลีนได้ออกอัลบั้มเพลงภาษาอังกฤษอัลบั้มแรกในชื่อว่า ยูนิซัน (อังกฤษ: Unison) ในปี พ.ศ. 2533 ร่วมกับ วิทโท ลุปราโน และเดวิด ฟอสเตอร์ โปรดิวเซอร์ชาวแคนาดา อัลบั้มนี้ได้รับอิทธิพลดนตรีแนวซอฟต์ร็อกจากคริสต์ทศวรรษ 1980 คำวิพากษ์วิจารณ์อัลบั้ม ยูนิซัน มีมากมาย อาทิ จิม เฟเบอร์จากนิตยสาร เอ็นเตอร์เทนเมนต์วีคลีย์ กล่าวว่าเสียงของเซลีนนั้น "ไม่ได้ตกแต่ง แต่มีรสนิยม" สตีเฟน เออร์เลน จาก ออลมิวสิก กล่าวว่า "นักร้องชาวอเมริกาอันมีความสามารถได้เกิดขึ้นแล้ว" ซิงเกิลจากอัลบั้มนี้ได้แก่เพลง "(อิฟแดร์วอส) เอนีอาเธอร์เวย์" "เดอะลาสโทไนว์" "ยูนิซัน" และ "แวร์ดัสมายฮาร์ตบีทนาว" อันเป็นเพลงแนวบัลลาดเทมโปซอฟต์ร็อก โดดเด่นด้วยเสียงกีตาร์อิเล็กทริกส์ เพลงนี้เป็นเพลงแรกของเธอที่ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ดของสหรัฐอเมริกาโดยขึ้นชาร์ตสูงสุดในอันดับที่ 4 อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มแรกที่ทำให้เธอเริ่มเป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกา ยุโรปรวมทั้งในเอเชียด้วย

ในปี พ.ศ. 2534 เซลีนเป็นหนึ่งในนักร้องที่ร่วมร้องเพลง "วอยซ์แดทแคร์" (อังกฤษ: Voices That Care) อันเป็นบทเพลงที่มอบให้แก่กองทหารอเมริกันที่เข้าร่วมสงครามอ่าวเปอร์เซีย แท้จริงแล้ว เซลีนก้าวขึ้นสู่นักร้องระดับสากลอย่างแท้จริงหลังจากการร้องเพลง "บิวตีแอนด์เดอะบีสต์" คู่กับ พีโบ ไบรซัน อันเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์แอนนิเมชัน เรื่อง บิวตีแอนด์เดอะบีสท์ ของวอลท์ดิสนีย์ เพลงนี้เป็นแบบอย่างของแนวเพลงที่เซลีนร้องในเวลาต่อมา กล่าวคือ เป็นทำนองสบาย ๆ ในแนวบัลลาดคลาสสิก ซิงเกิลนี้เป็นซิงเกิลที่ 2 ของเธอที่ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ด 10 อันดับแรกในสหรัฐอเมริกา เพลงนี้ยังได้รับรางวัลออสการ์ สาขา "เพลงยอดเยี่ยม" (อังกฤษ: Best Song) และรางวัลแกรมมี สาขา "เพลงป๊อปร้องคู่หรือกลุ่มยอดเยี่ยม" (อังกฤษ: Best Pop Performance by a Duo or Group with Vocal) "บิวตีแอนด์เดอะบีสต์" เป็นเพลงหนึ่งในอัลบั้ม เซลีนดิออน อัลบั้มที่ใช้ชื่อเดียวกับเธอเอง โดยเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จของเธอ ผลงานเพลงในอัลบั้มนี้เซลีนได้ร่วมงานกับเดวิด ฟอสเตอร์ และไดแอน วาเรน เพลงอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จในอัลบั้มนี้ได้แก่ "อิฟยูอาสก์มีทู" (อังกฤษ: If You Asked Me To) เพลงของแพตติ เลอเบลล์ (อังกฤษ: Patti LaBelle) จากภาพยนตร์เรื่อง Licence to Kill อันออกฉายในปี พ.ศ. 2532 เพลงนี้ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ดสูงสุดในอันดับที่ 4 นอกจากนี้ยังมีเพลง "เลิฟแคนมูฟเมาเทนส์" (อังกฤษ: Love Can Move Mountains) และ "น็อตติงโบรกเคนบัตมายฮาร์ต" (อังกฤษ: Nothing Broken But My Heart) โดยก่อนหน้านี้เธอได้ออกอัลบั้ม ดียงชองเตอปลามงดง (ฝรั่งเศส: Dion chante Plamondon) ในปี พ.ศ. 2534 เป็นอัลบั้มเพลงภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงเก่านำมาร้องใหม่ โดยมีเพลงใหม่ 4 เพลงคือ "เดโมกีซอน" (ฝรั่งเศส: Des mots qui sonnent) "เชอด็องซ์ดองมาแต็ต" (ฝรั่งเศส: Je danse dans ma tête) "แกลเกิงเกอแชมแกลเกิงเกอแชม" (ฝรั่งเศส: Quelqu'un que j'aime, quelqu'un qui m'aime) และ "ลามูร์เอ็กซีสต์อ็องกอร์" (ฝรั่งเศส: L'amour existe encore) แต่เดิมออกจำหน่ายในแคนาดา และฝรั่งเศส ในช่วงปี พ.ศ. 2534 - 2535 เท่านั้น ต่อมาได้ออกจำหน่ายทั่วโลกในปี พ.ศ. 2537 มียอดขาย 1.5 ล้านชุดทั่วโลก และเป็นอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสอัลบั้มแรกของเธอที่ออกจำหน่ายทั่วโลก

ในช่วงปี พ.ศ. 2535 อัลบั้ม ยูนิซัน และ เซลีนดิออน รวมทั้งการปรากฏในสื่อต่าง ๆ ทำให้เซลีนเป็นที่รู้จักทั่วอเมริกาเหนือ เธอประสบความสำเร็จในตลาดเพลงภาษาอังกฤษ และมีชื่อเสียงมากขึ้น แต่กระนั้น ขณะที่เธอประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา แฟนเพลงชาวฝรั่งเศสต่างวิพากษ์วิจารณ์ว่าเธอเพิกเฉยต่อพวกเขา ต่อมาในงานประกาศรางวัลเฟลิกซ์ เซลีนได้รับรางวัล "ศิลปินอังกฤษแห่งปี" เธอกล่าวปฏิเสธในการรับรางวัลนั้น เธอยืนยันว่าเธอเป็นศิลปินฝรั่งเศส ไม่ใช่ศิลปินอังกฤษ ซึ่งทำให้เธอได้ฐานแฟนเพลงชาวฝรั่งเศสคืนมา นอกจากความสำเร็จด้านดนตรีแล้ว ในด้านชีวิตส่วนตัว เรอเน ผู้จัดการส่วนตัวของเธอ ซึ่งมีอายุมากกว่าเธอ 26 ปี ได้ผันมาเป็นคนรัก อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์นี้ยังคงเป็นความลับของทั้งคู่ ด้วยกลัวว่าสาธารณชนจะกล่าวว่าทั้งสองไม่เหมาะสมกัน

เริ่มต้นของความนิยม [2536 - 2538]
ในปี พ.ศ. 2536 เธอประกาศความรู้สึกของเธอกับผู้จัดการส่วนตัวของเธอผ่านคำว่า "เดอะคัลเลอร์ออฟ[เฮอร์]เลิฟ" (สีสันความรัก[ของเธอ]) ที่ออกมาในชื่อของอัลบั้ม เดอะคัลเลอร์ออฟมายเลิฟ (อังกฤษ: The Colour of My Love) อัลบั้มเพลงภาษาอังกฤษชุดที่ 3 ของเธอ เซลีนกังวลการวิพากษ์วิจารณ์ความสัมพันธ์ระหว่างเธอ และผู้จัดารส่วนตัว แต่แฟนเพลงของเธอกลับให้การตอบรับอย่างดี ท้ายที่สุด เรอเนและเซลีนได้จัดพิธีสมรสอย่างยิ่งใหญ่ที่โบสถ์บาซิลิกา เมืองมอนทรีออล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งออกอากาศทางโทรทัศน์ในแคนาดา

สืบเนื่องจากอัลบั้มนี้เซลีนตั้งใจมอบให้แก่ผู้จัดการส่วนตัวของเธอ ทำให้อัลบั้มนี้ประกอบด้วยเพลงแนวความรัก และโรแมนติก อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเท่าที่ผ่านมา ด้วยยอดขายกว่า 6 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกา, 2 ล้านชุดในแคนาดา และขึ้นชาร์ตอันดับที่ 1 ในหลายประเทศ นอกจากนี้เพลง "เดอะพาวเวอร์ออฟเลิฟ" (อังกฤษ: The Power of Love) ยังขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และออสเตรเลียเป็นเพลงแรก (เดิมเป็นเพลงของเจนนิเฟอร์ รัช ในปี พ.ศ. 2529) เพลงนี้เป็นหนึ่งในเพลงที่เป็นสัญลักษณ์ของเธอถึงช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ซิงเกิลถัดมาได้แก่ "เว็นไอฟอลอินเลิฟ" (อังกฤษ: When I Fall in Love) ร้องคู่กับคลิฟ กริฟฟิน และเพลง "มิสเล็ด" (อังกฤษ: Misled) ที่ประสบความสำเร็จในชาร์ตของแคนาดา อัลบั้ม เดอะคัลเลอร์ออฟมายเลิฟ เป็นอัลบั้มแรกของเธอที่ได้รับความนิยมในยุโรป โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรในเพลง "ธิงค์ทไวซ์" (อังกฤษ: Think Twice) ซึ่งขึ้นอันดับ 1 ชาร์ตบริติชเป็นเวลากว่า 5 สัปดาห์ติดต่อกัน อยู่ที่อันดับ 1 รวมทั้งสิ้น 7 สัปดาห์ ซิงเกิลนี้เป็นซิงเกิลที่ 4 ที่ร้องโดยนักร้องหญิงที่มียอดขายเกิน 1 ล้านชุดในสหราชอาณาจักร และอัลบั้มนี้ก็ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว 5 แผ่นซึ่งมียอดขายกว่า 2 ล้านชุด

ถึงแม้เซลีนจะประสบความสำเร็จในอัลบั้มภาษาอังกฤษ แต่เธอก็ยังออกอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสไปพร้อม ๆ กับอัลบั้มภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งเพลงเหล่านี้ส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จมากกว่าเพลงภาษาอังกฤษของเธอ อาทิ อัลบั้ม อาโลแล็งปียา (ฝรั่งเศส: À l'Olympia) โดยบันทึกเสียงระหว่างการแสดงคอนเสิร์ตของเธอที่โรงละครแล็งปียา ปารีส ประเทศฝรั่งเศส อัลบั้มนี้ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2537 และมีการออกซิงเกิลโปรโมตอัลบั้มนี้ คือเพลง "คอลลิงยู" (อังกฤษ: Calling You) ขึ้นชาร์ตฝรั่งเศสอันดับสูงสุดที่ 75

เดอ (ฝรั่งเศส: D'eux หรือ เดอะเฟรนช์อัลบั้ม (อังกฤษ: The French Album) ในสหรัฐอเมริกา ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2538 เป็นอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสที่ขายดีที่สุดตลอดกาล เพลงในอัลบั้มนี้ส่วนใหญ่เป็นผลงานการประพันธ์ของชอง-ชาก โกลด์แมน เพลงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดจากอัลบั้มนี้คือเพลง "ปูร์เกอตูแมมอองกอร์" (ฝรั่งเศส: Pour que tu m'aimes encore) ขึ้นชาร์ต 1 ใน 10 ของสหราชอาณาจักร (เป็นหนึ่งในเพลงภาษาฝรั่งเศสไม่กี่เพลงที่ประสบความสำเร็จในชาร์ตสหราชอาณาจักร) และเพลง "เชอเซปา" (ฝรั่งเศส: Je sais pas) ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในชาร์ตของฝรั่งเศส โดยเพลงเหล่านี้ได้นำมาร้องใหม่เป็นภาษาอังกฤษในชื่อว่า "อิฟแธตส์ว็อตอิตเทกส์" อังกฤษ: If That's What It Takes)" และ "ไอด็อนท์โนว์" (อังกฤษ: I Don't Know) ตามลำดับ โดยบรรจุลงในอัลบั้มภาษาอังกฤษชุดต่อมาที่มีชื่อว่า ฟอลลิงอินทูยู (อังกฤษ: Falling into You)

ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นช่วงของการเปลี่ยนแนวดนตรีของเซลีน จากอิทธิพลของร็อกสู่แนวเพลงป๊อป และโซล (แม้กีตาร์อิเล็กทริกส์ยังคงมีความโดดเด่นในดนตรีของเธอ) เพลงของเธอเริ่มมีความนุ่มนวล และใช้ทำนองที่เบาลง และแต่ละเพลงก็จะมีช่วงสำคัญคือการร้องเสียงสูงเท่าที่เสียงของเธอสามารถร้องได้ ดนตรีใหม่นี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิจารณ์หลายคน อาทิ แอเรียน เบอร์เกอร์ จากนิตยสาร เอ็นเตอร์เทนเมนท์วีคลีย์ กล่าวว่า "เสียงของเธอผาดโผน" และเป็น "เพลงบัลลาดที่น่าชื่นชม" เป็นผลให้เธอมักถูกเปรียบเทียบกับศิลปินอื่น ๆ อย่างมารายห์ แครี และวิทนีย์ ฮูสตัน นอกจากนี้ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความน่าเบื่อซ้ำซากในแนวดนตรีของเธอ เช่นในอัลบั้ม เดอะคัลเลอร์ออฟมายเลิฟ ที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากงานดนตรีของเธอก่อนหน้านี้ แม้ว่าเสียงยกย่อง และการวิพากษ์วิจารณ์จะเบาบางลง เซลีนยังคงได้รับความนิยมในชาร์ตสากลทั่วโลก และในปี พ.ศ. 2539 เซลีนได้รับรางวัลเวิลด์ มิวสิก อวอร์ดส ในสาขา "นักร้องหญิงชาวแคนาดาที่มียอดขายทั่วโลกยอดเยี่ยมแห่งปี" (อังกฤษ: World’s Best-selling Canadian Female Recording Artist of the Year) เป็นครั้งที่ 3 และในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เซลีนได้ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในนักร้องที่มียอดขายสูงสุดในโลก พร้อมกับนักร้องหญิงอย่าง มารายห์ แครี และวิทนีย์ ฮูสตัน

ประสบความสำเร็จทั่วโลก [2539 - 2542]
อัลบั้ม ฟอลลิงอินทูยู (อังกฤษ: Falling into You) เป็นอัลบั้มภาษาอังกฤษลำดับที่ 4 ของเธอ ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2539 นับเป็นความสำเร็จของเธอในอีกระดับหนึ่ง อัลบั้มนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและยังแสดงถึงพัฒนาการทางดนตรีของเธออีกด้วย อัลบั้มนี้มีองค์ประกอบหลายส่วน เพื่อให้เข้าถึงแฟนเพลงในกลุ่มที่กว้างขึ้น อาทิ ส่วนของดนตรี มีการใช้วงออเคสตราร่วมบรรเลง, เสียงร้องเพลงแบบแอฟริกัน และเสียงแบบแปลก ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีอย่างไวโอลิน, กีตาร์สเปน, ทรอมโบน และแซ็กโซโฟน บรรเลงเพื่อสร้างดนตรีแบบใหม่ เพลงจากอัลบั้มนี้มีแนวเพลงหลากหลายแนว อาทิ "ฟอลลิงอินทูยู" (อังกฤษ: Falling into You) และ "ริเวอร์ดีปเมาน์เทนไฮ" (เพลงเดิมของทิน่า เทอร์เนอร์) ที่มีเครื่องดนตรีบรรเลงอย่างโดดเด่น, "อิทส์ออลคัมมิงแบ็กทูมีนาว" (อังกฤษ: It's All Coming Back to Me Now) (เพลงเดิมของจิม สเตนแมน) , และเพลงเดิมของอีริค คาร์แมน อย่าง "ออลบายมายเซลฟ์" (อังกฤษ: All by Myself) ที่ยังคงคงแบบดนตรีซอฟต์ร็อก แต่เพิ่มการผสมผสานในแนวคลาสสิกด้วยเสียงของเปียโน และซิงเกิลอันดับหนึ่ง "บีคอสยูเลิฟด์มี" (อังกฤษ: Because You Loved Me) ผมงานการประพันธ์ของไดแอน วาเรน เพลงแนวบัลลาดประกอบภาพยนตร์เรื่อง Up Close & Personal ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2539
ฟอลลิงอินทูยู เป็นผลงานของเซลีนที่ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ในด้านดีอย่างมากมาย ในขณะที่แดน เลอรอย กล่าวว่าผลงานนี้ไม่ได้แตกต่างจากอัลบั้มอื่นๆ ก่อนหน้านี้มากนัก และสตีเฟน โฮลเดน จากนิตยสาร นิวยอร์กไทมส์ และนาคาลี นีโคลส์ จากนิตยสาร ลอสแอนเจลิสไทมส์ กล่าวว่าเพลงในอัลบั้มนี้เป็นเหมือนแบบเดิม ๆ คำวิพากษ์วิจารณ์อื่น ๆ อาทิ ชัค เอ็ดดี จากนิตยสาร เอ็นเตอร์เทนเม็นท์วีคลีย์, สตีเฟน โทมัส เออร์เลไวน์ จากนิตยสาร เอเอ็มจี และแดเนียล ดัชฮาลส์กล่าวว่าอัลบั้มนี้ "กระตุ้นความสนใจ", "เร่าร้อน", "ทันสมัย", "สง่างาม" และ "เป็นผลงานประณีตยอดเยี่ยม" ฟอลลิงอินทูยู เป็นอัลบั้มที่ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด และประสบความสำเร็จสูงสุดเท่าที่ผ่านมา อัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในหลายประเทศและเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดตลอดกาล นอกจากนี้ อัลบั้มนี้ยังได้รับรางวัลแกรมมี สาขา "อัลบั้มเพลงป๊อปยอดเยี่ยม" (อังกฤษ: Best Pop Album) และรางวัลเกียรติยศสูงสุดของแกรมมี "อัลบั้มแห่งปี" เธอก็เป็นที่รู้จักของโลกมากขึ้น เมื่อเซลีนได้รับการทาบทามในการร้องเพลง "เดอะพาวเวอร์ออฟเดอะดรีม" ในงานพิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิก 1996 ที่เมืองแอตแลนตา นอกจากนี้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 เซลีนเริ่มต้นการจัดคอนเสิร์ตทัวร์ฟอลลิงอินทูยู เพื่อสนับสนุนยอดขายของอัลบั้ม ฟอลลิงอินทูยู โดยไปเยือนเมืองสำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก

อัลบั้มถัดมาของเซลีนคือ เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ (อังกฤษ: Let's Talk About Love) ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2540 บันทึกเสียงที่ลอนดอน, นครนิวยอร์ก, ลอสแอนเจลิส, ซึ่งมีแขกรับเชิญพิเศษมากมายที่มาร่วมร้องในอัลบั้มนี้ อันประกอบด้วย บาร์บรา สตรัยแซนด์ ในเพลง "เทลล์ฮิม" (อังกฤษ: Tell Him) , วงบีจีส์ ในเพลง "อิมมอร์ทอลิตี" (อังกฤษ: Immortality) , ลูชิอาโน ปาวารอตติ ในเพลง "ไอเฮตยูเด็นไอเลิฟยู" (อังกฤษ: I Hate You Then I Love You) นอกจากนี้ยังมีนักดนตรีคนอื่นๆได้ร่วมในผลงานอัลบั้มชุดนี้เช่นกัน อาทิ คาโรล์ คิง, เซอร์ จอร์จ มาร์ติน, เจไมกา นักร้องจากไดอาน่าคิงที่เข้ามาสร้างเสียงดนตรีแบบเรกเก้ในเพลง "ทรีตเฮอร์ไลค์อะเลดี" (อังกฤษ: Treat Her Like a Lady)" แม้จะมีศิลปินมากมายร่วมงานในอัลบั้มชุดนี้ แต่อัลบั้มนี้จึงยังคงธีมในเรื่องของ "ความรัก" เหมือนอัลบั้มชุดก่อนๆ โดยเฉพาะความรักแบบพี่น้อง ในเพลง "แวร์อิสเดอะเลิฟ" (อังกฤษ: Where Is the Love) และ "เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ" (อังกฤษ: Let's Talk About Love) ซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จสูงสุดจากอัลบั้มนี้คือเพลง "มายฮาร์ตวิลโกออน" (อังกฤษ: My Heart Will Go On) ผลงานการประพันธ์ของเจมส์ ฮอร์เนอร์ และอำนวยการผลิตโดยเจมส์ และวอลเตอร์อะฟาแนซิฟ เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง ไททานิก เพลงนี้ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ทั่วโลก และเป็นหนึ่งในเพลงที่เป็นสัญลักษณ์ของเซลีน ดิออน ซิงเกิล "มายฮาร์ตวิลโกออน" และ "ธิงค์ทไวซ์" ทำให้เซลีนเป็นนักร้องหญิงคนเดียวที่สามารถทำยอดขายซิงเกิลในสหราชอาณาจักรได้เกิน 1 ล้านชุด ในการสนับสนุนยอดขายอัลบั้มนี้ เซลีนได้ทัวร์คอนเสิร์ต เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ ในระหว่างปี พ.ศ. 2541 - 2542[55]

เซลีนปิดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 1990 กับอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จอีก 2 อัลบั้ม คือ ดีสอาร์สเปเชียลไทมส์ (อังกฤษ: These Are Special Times) ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2541 เป็นเพลงเทศกาลคริสต์มาส และอัลบั้มเพลงฮิตอย่าง ออลเดอะเวย์... อะดิเคดออฟซอง (อังกฤษ: All the Way… A Decade of Song) ในปี พ.ศ. 2542 ในอัลบั้ม ดีสอาร์สเปเชียลไทมส์ เซลีนมีส่วนร่วมในการประพันธ์เพลงในอัลบั้มมากขึ้น ในอัลบั้มนี้ประกอบไปด้วยดนตรีแนวคลาสสิกโดยมีวงออร์เคสตราร่วมบรรเลงในทุก ๆ เพลง เพลง "แอมยัวร์แองเจิล" (อังกฤษ: I'm your angel) เป็นผลงานจากการร้องคู่กับอาร์. เคลลี ซึ่งเป็นซิงเกิลที่ 4 ในอัลบั้ม ดีสอาร์สเปเชียลไทมส์ และซิงเกิลสุดท้ายของเธอที่ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกา ในส่วนของอัลบั้ม ออลเดอะเวย์... อะดิเคดออฟซอง เป็นอัลบั้มเพลงฮิตที่นำเพลงเก่ามารวมกับเพลงใหม่ 7 เพลง ซิงเกิลแรกเปิดตัวด้วยเพลง "แดทส์เดอะเวย์อิทอิส" (อังกฤษ: That's the Way It Is) , เพลง "เดอะเฟิร์สไทม์เอเวอร์ไอซอยัวร์เฟซ" ซึ่งเดิมขับร้องโดยโรเบอร์ตา เฟลค และเพลง "ออลเดอะเวย์" ร้องคู่กับแฟรงค์ ซินาทรา ในช่วงท้ายคริสต์ทศวรรษที่ 1990 เซลีนมียอดขายอัลบั้มกว่า 100 ล้านชุดทั่วโลก ทำให้เธอได้รับรางวัลจากอุตสาหกรรมดนตรีมากมาย เธอกลายเป็นหนึ่งในดีว่าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเพลงร่วมสมัย ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่เธอได้รับการเชื้อเชิญเข้าร่วมการแสดงของสถานีโทรทัศน์ดนตรีวีเอชวัน ในรายการพิเศษ ดีว่าส์ไลฟ์ ในปี พ.ศ. 2541 ร่วมกับ อารีธา แฟรงคลิน, กลอเรีย เอสเตฟาน, ชาเนีย ทเวน และ มารายห์ แครี ซึ่งนั่นทำให้เธอได้รับอิสริยาภรณ์จากบ้านเกิดของเธอ คือ ราชอิสริยาภรณ์แห่งแคนาดาชั้นจตุรถาภรณ์ (OC) และรัฐอิสริยาภรณ์แห่งควิเบกชั้นจตุรถาภรณ์ (OQ) ในปีต่อมาเธอได้รับตำแหน่งในหอเกียรติยศการออกกากาศแห่งแคนาดา และได้รับเกียรติในทางเดินแห่งเกียรติยศของแคนาดา นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลแกรมมี่ในสาขานักร้องหญิงยอดเยี่ยม และรางวัลเพลงแห่งปี สำหรับเพลง "มายฮาร์ตวิลโกออน" (เพลงนี้ได้รับรางวัล 4 รางวัล โดย 2 รางวัลมอบให้แก่ผู้ประพันธ์เพลง)

เมื่อเปรียบเทียบกับอัลบั้มในช่วงแรก ๆ ของเธอ ทั้งคุณภาพและดนตรีในเพลงของเธอได้เปลี่ยนไปอย่างมาก อิทธิพลจากดนตรีแนวซอฟต์ร็อกกลายมาเป็นเพลงในแนวโซล และมีสไตล์เป็นเพลงร่วมสมัยมากขึ้น อย่างไรก็ตามธีมของ "ความรัก" ก็ยังมีให้เห็นในทุก ๆ อัลบั้มของเธอ ซึ่งเป็นสาเหตุให้นักวิจารณ์กล่าวว่าผลงานของเธอซ้ำซาก บทวิจารณ์อัลบั้ม เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ ของร็อบ โอคอนเนอร์กล่าวว่า

สิ่งที่ไม่เคยหยุดทำให้ฉันประหลาดใจก็คือ ความซ้ำซากอย่างที่สุด, ดนตรีที่ถูกครอบงำด้วยความจำเจมักจะได้รับการสรรเสริญจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมทางดนตรีว่าไร้ที่ติ เรือที่จมทำให้ฉันนึกถึงทำนองเพลง ["มายฮาร์ตวิลโกออน"] ที่ไถไปเรื่อย ๆเป็นเวลา 4 นาทีกว่า ๆ และอัลบั้มนี้ทำให้ฉันรู้สึกว่าไม่มีที่สิ้นสุด มันไม่มีข้อสงสัยเลยหรือว่าทำไมฉันถึงกลัวเวลาไปหาหมอฟัน


นอกจากนี้เซลีนยังได้รับคำวิจารณ์ในเพลง "เดอะเฟิร์สไทม์เอเวอร์ไอซอยัวร์เฟซ" และ "ออลเดอะวย์" ซึ่งกล่าวไว้ในทางลบว่า "น่าขนลุก" ทั้งแอลลิสสัน สตีวาร์ดจาก เดอะชิกคาโกทรีบูน และเออร์ไวน์จาก ออลมิวสิก แม้ว่าเธอยังคงได้รับการสรรเสริญจากความสามารถในการร้องเพลงของเธอ (เอลิซา การ์ดเนอร์ จาก แอล.เอ.ไทมส์ เรียกเสียงของเธอว่า "เทคนิคที่น่าพิศวง") เสียงของเธอในช่วงแรก ๆ ทำให้ต้องหยุดฟัง และสตีฟ ดอลลาร์ ได้วิจารณ์อัลบั้ม ดีสอาร์สปเชียลไทมส์ ว่า "เสียงของเธอดุจดังมหาบรรพตโอลิมปัสอันไม่มีภูเขาใด หรือระดับใด ๆ สามารถเทียบวัดได้"

กำเนิดบุตรชาย [2543-2544]

เซลีน ดิออนและบุตรภายหลังการออกอัลบั้มกว่า 13 อัลบั้มในคริสต์ทศวรรษ 1990 เซลีนได้ประกาศระหว่างการออกอัลบั้ม ออลเดอะเวย์... อะดิเคดออฟซอง อัลบั้มล่าสุดของเธอในขณะนั้นว่า เธอต้องการพำนักที่ใดที่หนึ่งเป็นการถาวร และเริ่มต้นใช้ชีวิตครอบครัว ซึ่งในขณะนั้นเรอเน สามีของเธอป่วยเป็นโรคมะเร็งที่คอหอย ทำให้เธอเสียกำลังใจอย่างมาก ในขณะนั้น แม้เซลีนจะพักงานจากวงการดนตรี แต่เธอก็ไม่สามารถหนีความเป็นจุดสนใจในวงการได้ ในปี พ.ศ. 2543 เนชันแนลเอ็นไควเรอร์ ตีพิมพ์เรื่องราวเท็จเกี่ยวกับเธอ มีรูปเธอและเรอเน สามีของเธอพร้อมพาดหัวว่า "เซลีน - 'ฉันท้องลูกแฝด!'"เซลีนฟ้องร้องสำนักพิม์นิตยสารนี้กว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บรรณาธิการของ เอ็นไควเรอร์ ได้พิมพ์ข้อความขอโทษ และขอถอนคำพูดในนิตยสารฉบับต่อมา และบริจาคเงินแก่สมาคมผู้ป่วยโรคมะเร็งของอเมริกา (อังกฤษ: American Cancer Society) เพื่อเป็นเกียรติแก่เซลีน และสามีของเธอ ในปีต่อมาขณะที่สามีของเธอรักษาอยู่ เซลีนได้ให้กำเนิดบุตรชายในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2544 ที่ฟลอริดา และให้ชื่อว่าเรอเน-ชาลส์ ภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เซลีนได้กลับสู่วงการดนตรีอีกครั้ง และออกอากาศทางโทรทัศน์ในเพลง "ก็อดเบลสอเมริกา" ในคอนเสิร์ต อเมริกา: อุทิศแก่วีรบุรุษ ชัค เทย์เลอร์จากนิตยสาร บิลบอร์ด ได้กล่าวไว้ว่า "การแสดง...เข้าสู่จิตใจของฉันที่จะเฉลิมฉลองศิลปินของเรา ความสามารถที่ทำให้อารมณ์และจิตวิญญาณหวั่นไหว, ซาบซึ้ง, เต็มไปด้วยความหมาย เติมแต่งด้วยความสง่างาม นี่คือความรู้สึกตอบสนองทางดนตรีที่เธอแบ่งปันกับพวกเราทุกคน ที่ยังค้นหาหนทางแก้ปัญหาความยากลำบากเหล่านั้น"

การกลับมาของเซลีน [2545-2546]
หลังจากการพักงานด้านดนตรีกว่า 3 ปี เซลีนได้กลับมาอีกครั้งกับอัลบั้ม อะนิวเดย์แฮสคัม (อังกฤษ: A New Day Has Come) ออกจำหน่ายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 อัลบั้มนี้เป็นตัวแทนถึงชีวิตส่วนตัวของเซลีนได้มากที่สุด และแสดงให้เห็นถึงอีกด้านหนึ่งของเซลีนอย่างเพลง "อะนิวเดย์แฮสคัม", "แอมอะไลฟ์" และ "กู๊ดบาย (เดอะแซดเดสเวิร์ด)" เป็นการเปลี่ยนแปลงที่แสดงถึงความรับผิดชอบที่มากขึ้นของเธอในฐานะเป็น "แม่" ซึ่งเธอได้กล่าวไว้ว่า "การเป็นแม่ทำให้คุณเติบโตขึ้น" เธอกล่าวว่า "วันใหม่ที่มาถึง (A New Day Has Come) สำหรับเรอเน และฉัน คือลูกของเรา มันคือทุกสิ่งทุกอย่างที่เราจะทำให้กับลูกของเรา... เพลง ["อะนิวเดย์แฮสคัม"] เป็นตัวแทนถึงความรู้สึกของฉันในตอนนี้ และเป็นตัวแทนของทั้งอัลบั้ม" อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จเชิงธุรกิจอย่างสูง แต่กลับได้รับข้อวิพากษ์วิจารณ์มากมาย โดยมีนักวิจารณ์ได้ให้ความเห็นไว้ว่าอัลบั้มนี้ "ลืมไปได้เลย" และเนื้อเพลงนั้นก็ "ไร้ความมีชีวิตชีวา" ทั้งร็อบ เชฟฟิลด์ จากนิตยสาร โรลลิงสโตน และเคน ทักเกอร์ จากนิตยสาร เอ็นเตอร์เทนเมนท์วีคลีย์ ได้วิจารณ์เกี่ยวกับเพลงของเซลีนไว้ว่าไม่ได้พัฒนาขึ้นเลยจากการที่เธอได้พัก และจัดประเภทเพลงของเธอว่า ซ้ำๆซากๆ ไม่น่าสนใจ คุณภาพปานกลาง ซาล ซินควิมานิ จากนิตยสาร สแลนท์ เรียกอัลบั้มเธอว่า "เป็นอัลบั้มที่ยืดยาด, เพลงป๊อปที่เหนอะหนะ"

หลังจากการวาดจินตนาการจากประสบการณ์ส่วนตัว เซลีนได้ออกอัลบั้ม วันฮาร์ต (อังกฤษ: One Heart) ในปี พ.ศ. 2546 อันเป็นตัวแทนของความรู้สึกปิติในชีวิตของเธอ อัลบั้มนี้เพลงส่วนใหญ่ประกอบด้วยเพลงเต้น เปลี่ยนแนวจากการร้องเสียงสูงๆ สู่แนวเพลงบัลลาดที่น่าตื่นเต้นซึ่งเธอได้ผสมผสานมันด้วยตัวเอง อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จในระดับปานกลาง และสามารถบอกเป็นนัยได้ถึงความไม่สามารถที่จะเอาชนะกำแพงของความคิดใหม่ๆ ของเธอ คำพูดอย่าง "คิดแล้วว่าเป็นแบบนี้" และ "พื้นๆ ธรรมดา" สามารถพบได้ในบทวิจารณ์ทั่วไป อัลบั้มนี้เปิดตัวด้วยซิงเกิล "ไอโดรฟออลไนต์" เพลงเดิมของรอย ออร์บิสัน เป็นเพลงธีมแคมเปญของไครส์เลอร์ (อังกฤษ: Chrysler) ซึ่งเป็นเพลงที่ผสมผสานแนวแดนซ์-ป๊อป,ร็อกแอนด์โรลล์เข้าด้วยกัน ทำให้หวนนึกถึงผลงานเพลงของแชร์ ช่วงคริสต์ทศววรษ 1980 อย่างไรก็ตามเพลงนี้ได้ยกเลิกจากแคมเปญดังกล่าวไป ขณะที่เซลีนพยายามที่จะทำให้ผู้สนับสนุนพอใจ กลางคริสต์ทศววรษ 2000 แนวดนตรีของเซลีนเปลี่ยนไปสู่ลักษณะความเป็นแม่ซึ่งพบได้ในอัลบั้ม มิราเคิล ในปี พ.ศ. 2547 มิราเคิล เป็นโครงการที่รวมรวมสื่อภาพ และเสียงผสมผสานกัน โดยได้ช่างภาพชื่อดังอย่างแอน เกดเดสมาร่วมงาน ในธีมที่จะผสานทารก และแม่ อัลบั้มนี้ซึมซาบแนวเพลงกล่อมเด็กอย่าง lullabies และเพลงแนวรัก, แรงบันดาลใจ โดยนำเพลง 2 เพลงที่เคยได้รับความนิยมมาร้องใหม่ เพลง "ว็อตอะวันเดอร์ฟูลเวิลด์" (อังกฤษ: What a Wonderful World) เพลงเดิมของหลุยส์ อาร์มสตรอง และเพลง "บิวตีฟูลบอย" ของจอห์น เลนนอน อัลบั้ม มิราเคิล ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์จากชาร์ลส์ เทย์เลอร์ จากนิตยสาร บิลบอร์ด ซึ่งกล่าวไว้ว่าซิงเกิล "บิวตี้ฟูลบอย" เป็น "อัญมณีที่ไม่เคยนึกถึง" และเรียกเซลีนว่า "ศิลปินอมตะ และมีความสามารถรอบตัว", ชัค อาร์โนลด์ จากนิตยสาร พีเพิล กล่าวว่าอัลบั้มละเอียดอ่อนในด้านจิตใจมากเกินไป ขณะที่แนนซี มิลเลอร์จากนิตยสาร เอ็นเตอร์เทนเมนท์วีคลีย์ แสดงความคิดเห็นไว้ว่า "การกระทำของแม่ทั้งหมดในโลกก็เป็นเพียงแค่การฉวยโอกาส"

อัลบั้มภาษาฝรั่งเศส อวีนฟีย์เอกาตร์ตีป (ฝรั่งเศส: 1 fille & 4 types, 1 สาว 4 ชาย) ออกจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2546 เป็นผลงานชุดที่ 2 ตั้งแต่เธอกลับมาสู่วงการดนตรีอีกครั้ง อัลบั้มนี้แสดงถึงว่าเซลีนพยายามที่จะแสดงภาพลักษณ์ความเป็น "ดีว่า" อัลบั้มนี้มีผู้ร่วมงานมากมาย อาทิ ชอง-ชาก โกลด์แมน, ชีลดา อาร์เซล, เอริก บองซี และชาก เวอเนอรูโซ ซึ่งเธอเคยร่วมงานมาแล้วในอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสที่เคยได้รับความนิยมของเธอ ซีลซูฟฟีเซแดมเม และเดอ อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มแห่งความกดดันโดยตัวของเซลีนเอง ภาพปกอัลบั้มแสดงถึงความผ่อนคลาย และเรียบง่ายของเซลีน ซึ่งตรงกันข้ามกับภาพปกที่ผ่านมาของเธอ อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จในด้านการวิพากษ์วิจารณ์: สตีเฟน เออร์ไวน์ จาก ออลมิวสิก กล่าว่าอัลบั้มนี้ "กลับไปสู่เพลงป๊อปที่เรียบง่ายที่ไม่ค่อยพบในช่วงเวลาหนึ่ง"

แม้ว่าอัลบั้มของเธอค่อนข้างประสบความสำเร็จ แต่ก็เป็นสัญญาณในด้านลบ ซึ่งเห็นได้จากคำวิพากษ์วิจารณ์แง่ลบต่างๆในอัลบั้ม เดอะคอลเลคเตอส์ซีรีส์ ชุดที่ 1 (อังกฤษ: The Collector's Series, Volume One) ออกจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2543 และอัลบั้ม วันฮาร์ต ออกจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2546 ด้วยเสน่ห์ของเซลีนในอัลบั้มหลังๆได้ลดลง เนื่องจากธีมที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น เพลงของเธอได้รับการเปิดในวิทยุน้อยลง และความนิยมในเพลงแนวบัลลาดอย่างเซลีน, มารายห์ และวิทนีย์น้อยลง ปัจจุบันแนวเพลงฮิปฮอป, เทมโป ได้รับความนิยมมากขึ้น อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2547 เซลีนมียอดจำหน่ายอัลบั้มของเธอรวมกว่า 175 ล้านชุด และได้รับรางวัลชอปาร์ดไดมอนด์ (อังกฤษ: Chopard Diamond Award) จากเวิลด์ มิวสิก อวอร์ดสสำหรับยอดขายของเธอ และเป็นศิลปินที่เป็นตัวแทนของ "ยอดขายมากกว่า 100 ล้านชุดในชีวิตดนตรี"

ราชินีแห่งลาสเวกัส [2546 - 2550]

เซลีน ดิออนกับการแสดงที่ลาสเวกัส ในเพลงริเวอร์ดีปเมาน์เทนไฮช่วงต้นปี พ.ศ. 2545 เซลีนได้ประกาศลงนามในการแสดงที่มีชื่อว่า อะนิวเดย์... (อังกฤษ: A New Day...) โดยเปิดการแสดงที่โรงแรมซีซ่าร์พาเลซ ลาสเวกัส เป็นเวลา 3 ปี รวมจำนวนการแสดงกว่า 600 รอบ 5 วันต่อสัปดาห์[88] ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็น "หนึ่งในการตัดสินใจด้านธุรกิจที่ชาญฉลาดในรอบปีโดยศิลปินเพียงคนเดียว" เซลีนได้รับแรงบันดาลการแสดงชุดนี้จากการไปชมการแสดงชุด โอ อันเป็นผลงานการสร้างสรรค์โดยฟรังโก ดรากอน (ฝรั่งเศส: Franco Dragone) ระหว่างการพักจากงานดนตรีของเธอ การแสดงเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2546 ในโรงละครโคลอสเซียม จำนวน 4,000 ที่นั่งซึ่งออกแบบเพื่อการแสดงนี้โดยเฉพาะ การแสดงนี้สร้างสรรค์โดยฟรังโก ดรากอน โดยผสมผสานระหว่างการเต้น, ดนตรี และแสงสี ในการแสดงเซลีนร้องเพลงยอดนิยมของเธอ พร้อมกับขบวนนักเต้นและอุปกรณ์พิเศษมากมาย ไมค์ เวเธอร์ฟอร์ด นักวิจารณ์รู้สึกว่าในตอนแรก เซลีนไม่ผ่อนคลายเท่าที่ควร ในตอนนั้นมันยากที่จะหานักร้องที่ร้องเพลงท่ามกลางเวทีที่ประดับสิ่งตกแต่งมากมาย พร้อมขบวนนักเต้น อย่างไรก็ตาม เขาได้ให้ความเห็นว่า การแสดงสามารถให้ความสุขได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากเซลีนพัฒนาการวางตัวบนเวที และเสื้อผ้าที่เรียบง่ายมากขึ้น

การแสดงนี้ได้รับการตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างดี แม้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงราคาบัตรเข้าชมที่แพงเกินไป แต่การแสดงขายบัตรหมดเกือบทุกรอบตั้งแต่เปิดการแสดงเมื่อปี พ.ศ. 2546 การแสดงชุดนี้ออกแบบท่าเต้นโดยเมีย ไมเคิล นักออกแบบท่าเต้นที่มีชื่อเสียงระดับโลก จากรายงานของ โพลสตาร์ เซลีนมียอดจำหน่ายบัตร 322,000 ใบ ทำรายได้กว่า 43.9 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงต้นปี พ.ศ. 2548 และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 บัตรเข้าชมขายหมด 315 รอบจาก 384 รอบ นอกจากนี้ในช่วงท้ายปี พ.ศ. 2548 เซลีนทำรายได้มากกว่า 76 ล้านเหรียญสหรัฐ ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ดการแสดงที่ทำรายได้สูงสุดประจำปี 2005 ในอันดับที่ 6 อะนิวเดย์... เป็นคอนเสิร์ตทัวร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอันดับที่ 6 ในสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากความสำเร็จของการแสดง เซลีนได้เซ็นสัญญาขยายระยะเวลาการแสดงถึงท้ายปี พ.ศ. 2550 จนเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2550 ได้ประกาศว่าการแสดงรอบสุดท้ายจะจัดขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยบัตรการแสดงช่วงหลังเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ได้ขายหมดตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ในส่วนของสื่อบันทึกการแสดง ได้ออกจำหน่ายในชื่อว่า ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์... ในรูปแบบดีวีดี และบลูเรย์ ออกจำหน่ายในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในยุโรป และวันรุ่งขึ้นในอเมริกาเหนือ ส่วนในประเทศไทยได้ออกจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

กลับสู่ห้องบันทึกเสียง [2550 - 2552]

เซลีน ดิออน รับการประสาทปริญญาสังคีตศาสตรดุษฎีบัณฑิต ณ พระราชวังมงต์กาล์ม ประเทศแคนาดาหลังจากที่เซลีนได้ออกอัลบั้มรวมเพลงฮิตภาษาฝรั่งเศส องเนอชองช์ปา (ฝรั่งเศส: On Ne Change Pas) เมื่อ พ.ศ. 2548 แล้ว เซลีนได้พักงานด้านการออกอัลบั้มในปี พ.ศ. 2549 จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 ได้ออกอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสชุดล่าสุดในชื่อว่า แดล (ฝรั่งเศส: D'elles, "พวกหล่อนเหล่านั้น") ขึ้นชาร์ตอัลบั้มแคนาดาอันดับ 1 ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 72,000 ชุดในสัปดาห์แรก นับเป็นอัลบั้มอันดับหนึ่งอัลบั้มที่ 10 ของเธอในยุคซาวด์สแกน และเป็นอัลบั้มที่ 8 ที่เปิดตัวในชาร์ตในอันดับที่หนึ่ง อัลบั้มนี้ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว 2 แผ่นจากประเทศแคนาดา และมียอดการส่งออกอัลบั้มไปยังทั่วโลกกว่าอีก 5 แสนชุดในสัปดาห์แรก แดล ยังขึ้นชาร์ตอันดับที่หนึ่งในฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม พร้อมทั้งเพลง "เอซีลนองแรสเตกวีน (เชอเซอเรแซลเลอ-ลา)" ซิงเกิลแรกจากอัลบั้มดังกล่าวเปิดตัวในอันดับที่หนึ่งในชาร์ตซิงเกิลประเทศฝรั่งเศส ในปีเดียวกัน เธอยังได้ออกจำหน่ายอัลบั้มภาษาอังกฤษชุด เทกกิงแชนเซส ออกจำหน่ายในยุโรปเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน อเมริกาเหนือวันที่ 13 พฤศจิกายน และในประเทศไทยวันที่ 15 พฤศจิกายน นับเป็นสตูดิโออัลบั้มภาษาอังกฤษแรกของเธอภายหลังอออัลบั้ม วันฮาร์ต ในปี พ.ศ. 2546 อัลบั้มดังกล่าวมีการผสมผสานแนวเพลงป๊อป อาร์แอนด์บี และร็อก ซึ่งเป็นผลงานร่วมกับจอห์น แชงค์ส, เบ็น มูดดี (อดีตสมาชิกวงอีวาเนสเซนซ์), คริสเตียน ลันดิน, เพียร์ อสตรอม, ลินดา เพอร์รี, เน-โย่ นอกจากนี้ยังขับร้องเพลง "อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน" ร่วมกับยูนะ อิโตะ นักร้องชาวญี่ปุ่น เซลีนกล่าวว่า "ฉันคิดว่าอัลบั้มนี้เป็นตัวแทนของพัฒนาการทางการร้องเพลงของฉัน... ฉันรู้สึกเข้มแข็งกว่าเดิมและอาจกล้าหาญขึ้นกว่าในอดีต ฉันแค่รู้สึกรักในดนตรีและชีวิตของฉันมากที่สุดในชีวิตของฉัน" นอกจากนี้เธอยังจัดคอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซสเพื่อประชาสัมพันธ์อัลบั้มดังกล่าว เริ่มต้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ในแอฟริกาใต้ โดยเปิดการแสดงทั่วโลกใน 5 ทวีปกว่า 132 รอบการแสดง

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เซลีน ดิออนได้รับเบญจมาภรณ์เลชียงโดเนอร์อันเป็นเครื่องรัฐอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสจากนายนีโกลา ซาร์โกซี ประธานาธิบดี ณ พระราชวังเอลีเซ (ฝรั่งเศส: Palais de l’Élysée, /ปาเลเดอเลลีเซ/) ,ในวันที่ 21 สิงหาคม ปีเดียวกันนั้น เซลีน ดิออน ได้รับการประสาทปริญญาสังคีตศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยลาวาล (ฝรั่งเศส: Université Laval)

คอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซสประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา ขึ้นอันดับหนึ่งในบ็อกสกอร์ของนิตยสาร บิลบอร์ด โดยมียอดจำหน่ายตั๋วหมดทุกใบทุกรอบในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เซลีนได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจูโน่ในปี พ.ศ. 2551 ประกอบไปด้วยรางวัลศิลปินแห่งปี, อัลบั้มป๊อปแห่งปี (เทกกิงแชนเซส), อัลบั้มภาษาฝรั่งเศสแห่งปี (แดล) , อัลบั้มแห่งปี (แดล และ เทกกิงแชนเซส) ในปีต่อมาเธอยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจูโน่อีก 3 รางวัลคือ รางวัลแฟนช็อยส์, รางวัลเพลงแห่งปี ("เทกกิงแชนเซส") และ มิวสิกดีวีดีแห่งปี (ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์...)

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เซลีนได้แสดงคอนเสิร์ตสาธารณะเฉลิมฉลองครบรอบ 400 ปีเมืองควิเบกซึ่งขับร้องเพลงภาษาฝรั่งเศสทั้งหมด ณ แปลนออฟอับราฮัม ควิเบกซิตี้ ประเทศแคนาดา โดยมีผู้ชมทั้ง ณ บริเวณการแสดงและผ่านทางโทรทัศน์ประมาณ 490,000 คน โดยเรียกคอนเสิร์ตดังกล่าวว่า เซลีนซูร์เลแปลน โดยออกจำหน่ายดีวีดีและบลูเรย์คอนเสิร์ตดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 พฤศจกายน พ.ศ. 2551ในแคนาดา และวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ในฝรั่งเศส ปลายเดือนตุลาคมในปีเดียวกันเซลีนได้ออกจำหน่ายอัลบั้มรวมเพลงฮิต มายเลิฟ: เอสเซนเชียลคอลเลกชัน ซึ่งออกจำหน่ายใน 2 รูปแบบคือซีดีแผ่นเดียวและสองแผ่น โดยในรูปแบบหลังได้ใช้ชื่อว่า มายเลิฟ: อัลติเมตเอสเซนเชียลคอลเลกชัน

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 เซลีนได้รับการจัดอันดับเป็นศิลปินแห่งทศวรรษลำดับที่ 20 ของอเมริกา และเป็นศิลปินหญิงแห่งทศวรรษของอเมริกาในอันดับที่ 2 ด้วยยอดจำหน่ายอัลบั้มรวมทั้งทศวรรษกว่า 17.57 ล้านชุด ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 นิสตยสารฟอร์บส รายงานว่าเซลีนทำรายได้ในช่วงปี พ.ศ. 2551 รวมกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นอับดับที่ 2 รองจาก มาดอนน่า นอกจากนี้เธอยังวางแผนกลับไปแสดง ณ ลาสเวกัสในปี พ.ศ. 2553 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เซลีนแถลงการแท้งบุตรของเธอตั้งแต่ขั้นตอนการปฏิสนธิ

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 โพลล์สตาร์ประกาศว่าเซลีนเป็นศิลปินเดี่ยวที่มียอดจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตสูงสุดในทศวรรษและเป็นอันดับที่สองเมื่อนับศิลปินประเภทวง โดยเป็นรองเพียงวงเดฟแมทธิวส์แบนด์ เซลีนทำรายได้กว่า 522.2 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมีารายได้ส่วนใหญ่มาจากการแสดงชุด อะนิวเดย์... ที่ซีซาร์พาเลส[แก้] การตั้งครรภ์และภาพยนตร์

คอนเสิร์ต [2552 - ปัจจุบัน]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 โฆษกส่วนตัวของเซลีนเปิดเผยว่าเซลีนกำลังตั้งครรภ์บุตรคนที่สอง และคาดประมาณว่าเธอจะให้กำเนิดบุตรราวเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ดี ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เซลีนประกาศว่าการตั้งครรภ์ของเธอประสบความล้มเหลว แต่เธอยังคงพยายามในการมีบุตรคนที่สองด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว

ยูเอสเอทูเดย์ ประกาศว่าเซลีนจะออกฉายภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับ คอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซส โดยใช้ชื่อว่า เซลีน: ธรูดิอายส์ออฟเดอะเวิลด์ และจะออกฉายในโรงภาพยนตร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ภาพยนตร์สารคดีชุดนี้ประกอบด้วยเบื้องหลังการแสดงทั้งบนเวทีและนอกเวที พร้อมด้วยวิดีโอพิเศษเกี่ยวกับครอบครัวของเธอขณะที่ท่องเที่ยวไปกับเธอ ออกจำหน่ายโดยโซนีพิกเจอร์สโดยเครือบริษัทย่อยฮอตทิกเก็ต

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 เดอะลอสแองเจิลลิสไทมส์ ตีพิมพ์รายชื่อผู้ที่มีรายได้สูงสุดประจำปี และเปิดเผยว่าเซลีน ดิออนอยู่ในอันดับสูงสุดตลอดกว่าทศวรรษ ด้วยรายได้กว่า 747.9 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี พ.ศ. 2543 - 2552 (ค.ศ. 2000 - 2009) ซึ่งมีรายได้ส่วนใหญ๋มาจากการจำหน่วยบัตรชมคอนเสิร์ตกว่า 522.2 ล้านเหรียญสหรัฐ

หนังสือพิมพ์พื้นเมืองของมอนทรีออล Le Journal de Quebec ประกาศว่าเซลีนได้รับการยกย่องให้เป็น "ศิลปินแห่งทศวรรษ" ในจังหวัดบ้านเกิดของเธอในควิเบก เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยทำการสำรวจทางออนไลน์สอบถามไปยังผู้อ่านเพื่อลงคะแนนให้กับผู้ที่พวกเขาคิดว่าสมควรได้รับรางวัลดังกล่าว

ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมีครั้งที่ 52 เซลีนได้ร่วมแสดงกับสโมกีย์ โรบินสัน, อัชเชอร์, เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน และแคร์รี อันเดอร์วูดเพื่อุทิศให้กับไมเคิล แจ็กสัน โดยศิลปินทั้งห้าคนร่วมร้องเพลง "เอิร์ธซอง" ของไมเคิลหน้าจอยักษ์ 3 มิติ

จากบทสัมภาษณ์ในนิตยสาร พิเพิลแม็กกาซีน ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เซลีนประกาศว่าเธอจะกลับไปแสดงยังซีซาร์สพาเลสในนครลาสเวกัสในการแสดงชุด เซลีน เป็นการแสดงทั้งสิ้น 3 ปี โดยจะเริ่มต้นในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554 เธอกล่าวว่าการแสดงชุดนี้จะรวม "ทุกเพลงของฉันที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีที่ทุกคนอยากได้ยิน" รวมไปถึงเพลงที่คัดสรรจากภาพยนตร์คลาสสิกของฮอลลีวูด เซลีนประกาศว่าเธอกำลังทำงานในสองอัลบั้มใหม่ทั้งภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษโดยร่วมกับเอ. อาร์. ราห์แมน ผู้ได้รับรางวัลอะคาเดมีสาขาดนตรี ซึ่งประพันธ์เพลงใหม่ให้เธอสองเพลง

ภาพลักษณ์

ดาวเจ็ดแฉกแห่งแคนาดาส์วอล์กออฟเฟม และดาห้าแฉกแห่งฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม จารึกชื่อเซลีน ดิออนในวัยเยาว์ เซลีนเติบโตขึ้นด้วยเสียงเพลงจากศิลปินต่างๆ อาทิ อารีธา แฟรงคลิน, ไมเคิล แจ็กสัน, คาโรล์ คิง, แอน มัวเรย์, บาร์บรา สตรัยแซนด์ และวงบีจีส์ ซึ่งในภายหลังได้ร่วมงานดนตรีกับเธอด้วย ระหว่างที่เธอเล่นที่บาร์เปียโนของพ่อแม่ร่วมกับพี่น้องของเธอ เธอได้ร้องเพลงหลายเพลงของ Ginette Reno และนักร้องชื่อดังชาวควิเบกอีกหลายคน เธอยังชื่นชอบผลงานของ เอดิต เพียฟ, เซอร์เอลตัน จอห์น และลูชิอาโน ปาวารอตติ นักร้องโอเปร่า และนักร้องแนวโซลอีกหลายคนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960, 1970, 1980 รวมทั้งโรเบอร์ตา เฟลค, เอตตา เจมส์ และแพตตี ลาเบลล์ ซึ่งเธอได้นำเพลงของนักร้องเหล่านี้มาร้องใหม่ในภายหลัง ทักษะภาษาอังกฤษของเธอได้รับอิทธิพลหลากหลายแนวเพลง ทั้งป๊อป, ร็อก, กอสเปล, อาร์แอนด์บี และโซล เนื้อเพลงของเธอมุ่งประเด็นในเรื่องของความยากจน, ความอดอยากของโลก, ลักษณะของจิตวิญญาณ ด้วยความรักและโรแมนติก ภายหลังที่เธอให้กำเนิบุตรชาย แนวเพลงของเธอได้เปลี่ยนไปเน้นความสัมพันธ์ และความรักแบบพี่น้อง เซลีนต้องเผชิญกับคำวิพากษ์วิจารณ์มากมาย ที่กล่าวว่าเพลงของเธอนั้นมักจะเป็นแนวป๊อป และโซล ซึ่งอ่อนไหวมากเกินไป เคธ แฮร์ริส จากนิตยสาร โรลล์ลิงสโตน ได้กล่าวไว้ว่า "อารมณ์เพลงของเซลีนนั้นมีลวดลาย และความท้าทายมากกว่าความสงบเสงี่ยมเรียบร้อย และสันโดษ... [เธอ]ยืนอยู่บนจุกสุดท้ายของโซ่แห่งการเปลี่ยนตำแหน่งระหว่างอาธีรา, วิทนีย์ และมารายห์... เซลีนยืนอยู่บนสัญลักษณ์ของความรู้สึกแนวเพลงป๊อป ยิ่งใหญ่ยิ่งดี มากเกินไปแต่ไม่เคยพอ ยิ่งแบ่งอารมณ์เพลงยิ่งทำให้รู้สึกถึงอารมณ์อันแท้จริง" อัลบั้มภาษาฝรั่งเศสของเซลีนเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ดนตรีมีแนวโน้มที่ลึกขึ้น และหลากหลายมากกว่าเพลงในภาษาอังกฤษ ผลลัพธ์ก็คือความสำเร็จ และมีชื่อเสียงมากกว่าอัลบั้มภาษาอังกฤษ

เซลีนได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในศิลปินที่ทรงอิทธิพลในโลก[ และจากบางแหล่งข้อมูล เธอมีความสามารถร้องเพลงได้ 5 อ็อกเตฟ ในการนับถอยหลัง "22 เสียงสุดยอดทางดนตรี" โดยนิตยสาร เบล็นเดอร์ และ เอ็มทีวี เธอได้อันดับที่ 9 (อันดับที่ 6 ในผู้หญิง) และอยู่ในอันดับที่ 4 ในนิตยสาร โคฟ (อังกฤษ: Cove') ในรายชื่อ "100 ศิลปินป๊อปที่โดดเด่นที่สุด"ในผลงานแรกของเธอ นักวิจารณ์หลายคนต้อนรับเธอด้วยการวิจารณ์เสียงของเธอ และยกย่องความเชี่ยวชาญ, ความเข้มของการร้องเพลง ชาร์ลส์ อเล็กซานเดอร์ จากนิตยสาร ไทม์ กล่าวว่า "เสียงของเธอผ่านไปอย่างราบเรียบอย่างง่ายดาย จากเสียงกระซิบลึกๆสู่เสียงสูง เสียงหวานๆของเธอประกอบด้วยพลังและความสง่างาม" แม้ว่าเซลีนมีความก้าวหน้าทางดนตรี แต่การร้องของเธอมีความใกล้เคียงกับเพลงร่วมสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทนีย์ ฮูสตัน และมารายห์ แครี และเธอได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องของการร้องเพลงที่เกินไป และขาดอารมณ์ร่วม ซึ่งพบได้ในผลงานช่วงแรกๆของเธอ นักวิจารณ์คนหนึ่งได้กล่าวว่าอารมณ์ของเธอ "เหมือนถูกฝึกมา โดยปราศจากความรักในเสียงของเธอ" และกล่าวว่าเธอ "ใช้เสียงมากกว่าหัวใจ"

นักวิจารณ์หลายคนกล่าวว่าเซลีนมีส่วนร่วมในงานด้านการสร้างเพลงของเธอน้อยมาก ซึ่งทำให้ผลงานของเธอมีมากเกินไป และไม่เป็นตัวของเธอ นอกจากนี้ ขณะที่เธอเติบโตมากับครอบครัวที่พี่น้องเป็นนักดนตรีทั้งหมด แต่เธอไม่เคยได้เรียนวิธีการเล่นเครื่องดนตรีอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม เธอช่วยในการประพันธ์เพลงภาษาฝรั่งเศสในช่วงแรกๆของเธอ และพยายามที่จะมีส่วนร่วมในงานด้านการผลิต และบันทึกเสียงในอัลบั้มของเธอ ในอัลบั้มภาษาอังกฤษอัลบั้มแรกของเธอ ซึ่งเธอบันทึกเสียงในช่วงที่เธอยังไม่แตกฉานทางภาษาอังกฤษมากนัก เป็นผลให้เธอไม่สามารถแสดงความสามารถของเธอออกมาได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเธอควรนำความสร้างสรรค์ใส่เข้าไปมากกว่านี้ ต่อมาเธอได้ออกอัลบั้มภาษาอังกฤษลำดับที่ 2 เซลีนดิออน เธอมีส่วนร่วมในงานการสร้างและบันทึกเสียงมากขึ้น ด้วยความหวังที่จะลบล้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์เดิมๆให้หมดไป เธอกล่าวว่า "ในอัลบั้มที่ 2 ฉันมีทางเลือกที่จะกลัวอีกครั้ง และไม่มีความสุข 100% หรือว่าเลิกหวาดกลัว และเป็นส่วนหนึ่งของอัลบั้ม นี่คืออัลบั้มของฉัน" เธอร่วมงานด้านการสร้างและการบันทึกเสียงในอัลบั้มชุดต่อๆมา ช่วยประพันธ์เพลงในบางเพลง เช่น ในเพลงของอัลบั้ม เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ และ ดีสอาร์สเปเชียลไทม์


เซลีน ดิออน ในรายการแลร์รีคิงไลฟ์ทางสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นแม้เธอจะประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังคงเป็นประเด็นของสื่อมวลชนในการเขียนเรื่องล้อเลียน และเรื่องตลก เธอมักถูกเลียนแบบในรายการโทรทัศน์ต่างๆ อาทิ MADtv, แซทเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ และ เซาท์ปาร์ค ในเรื่องของการออกเสียงของเธอ, ความอนุรักษ์นิยม และการเคลื่อนไหวของเธอบนเวที เธอยังถูกเลียนแบบในรายการ รอยัลแคนาเดียนแอร์ฟารส์ และ ดีสอาวร์แฮสทเวนตีทูมินิทส์ อย่างไรก็ตาม เซลีนได้กล่าวว่าเธอไม่ได้รู้สึกอะไรจากการล้อเลียนดังกล่าว และเธอรู้สึกยินดีที่มีคนเลียนแบบเธอ เธอเชิญ Ana Gasteyer ผู้เขียนล้อเลียนเธอในเอสเอ็นแอลบนเวทีการแสดงของเธอครั้งหนึ่ง เซลีน ดิออน เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนน้อยครั้งมาก อย่างไรก็ดี ใน พ.ศ. 2548 หลังจากเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนแคทรินาพัดถล่มสหรัฐอเมริกา เซลีนได้วิจารณ์รัฐบาลแห่งมลรัฐลุยเซียนาผ่านทางรายการแลร์รีคิงไลฟ์ (อังกฤษ: Larry King Live) ถึงความล่าช้าในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุดังกล่าว เซลีนร้องไห้น้ำตานองใบหน้าและกล่าวว่า "เราต้องไปที่นั่นในทันใด เพื่อช่วยผู้คนที่เหลือรอดอยู่ คราวที่ส่งกองรบไปสังหารผู้คนในตะวันออกกลางนั้นกลับทำได้ในไม่กี่วินาที แต่เหตุใดคราวที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วนภายในประเทศกลับทำได้ช้า" ภายหลังเซลีนแถลงว่า "ตอนที่ฉันให้สัมภาษณ์ในรายการแลร์รีคิงไลฟ์ซึ่งเป็นรายการสำคัญขนาดนั้น ฉันรู้สึกตกเป็นเป้าสายตาซึ่งเป็นช่วงที่ค่อนจะวางตัวลำบากนัก ฉันย่อมมีความคิดความเห็นเป็นธรรมดาอยู่แล้ว แต่ก็เป็นไปตามประสานักร้อง เพราะฉันไม่ใช่นักการเมือง"

กิจกรรมการกุศลและงานอื่นๆ
นอกจากการร้องเพลงแล้ว เซลีนยังได้เปิดแฟรนไชส์ร้านอาหารฝรั่งเศสชื่อว่า "Nickels Grill" ในปี พ.ศ. 2533 และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 สายการบินแห่งชาติแคนาดาได้เลือกเซลีน ดิออน เป็นพรีเซ็นเตอร์โปรโมตแคมเปญเที่ยวบินพิเศษ และเครื่องบินใหม่ของสายการบิน โดยเลือกเพลง "ยูแอนด์ไอ" (อังกฤษ: You and I) ซึ่งเป็นผลงานการขับร้องของเซลีน เป็นเพลงหลักในการโปรโมตครั้งนี้ นอกจากนี้เซลีนยังออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำหอมและแว่นตา โดยเซ็นสัญญากับบริษัทโคตี้ จำกัด ในด้านการดูแลการผลิต และล่าสุดเซลีนได้ออกจำหน่ายน้ำหอมชื่อ "เซลีนดิออน" รุ่นเซนเซชันแนล (อังกฤษ: Sensational) และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เซลีนเตรียมออกจำหน่ายน้ำหอมรุ่นใหม่ลำดับที่ 6 ในชื่อว่า ชิก น้ำหอมตราเซลีน ดิออน ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รายวัล FiFi 2 รางวัล โดยตั้งแต่เริ่มการจำหน่ายน้ำหอมของเธอตั้งแต่ พ.ศ. 2545 น้ำหอมของเธอทำรายได้กว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ

กิจกรรมการกุศล
ดูบทความหลักที่ มูลนิธิเซลีนดิออน
เซลีนได้ให้ความช่วยเหลือมูลนิธิ, องค์กรการกุศลทั่วโลก โดยเฉพาะกองทุนแคนาดาเพื่อการสร้างเนื้อเยื่อในกระเพาะปัสสาวะ (อังกฤษ: Canadian Cystic Fibrosis Foundation (CCFF)) ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากคาเรน หลานสาวของเธอที่เสียชีวิตด้วยโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะตั้งแต่อายุ 16 ปี ในปี พ.ศ. 2546 เซลีนได้เข้าร่วมในโครงการจัดคอนเสิร์ตวันเด็กโลก (อังกฤษ: World Children's Day) ร่วมกับจอช โกรแบน และ Yolanda Adams มีผู้ร่วมสนับสนุนอาทิ แม็คโดนัลด์ รายได้จากการจัดงานครั้งนี้ได้บริจาคแก่มูลนิธิเด็กกว่า 100 ประเทศทั่วโลก รวมถึงองค์กรเกี่ยวกับสุขภาพของเด็ก นอกจากนี้เซลีนยังเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของมูลนิธิ T.J. Martell กองทุนของเจ้าหญิงไดอาน่าแห่งเวลส์ และกองทุนด้านสุขภาพและการศึกษาอีกมากมาย เซลีนร่วมบริจาคเงิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา และยังเคยจัดรายการการกุศลหาทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปลายปี พ.ศ. 2547 ซึ่งมียอดบริจาครวมกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และล่าสุดหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวนของจีนเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 เซลีนบริจาคเงิน 100,000 เหรียญสหรัฐแก่กองทุนเพื่อเด็กและเยาวชนของจีน พร้อมสาสน์แสดงความเสียใจอีกด้วย

ผลงาน
ผลงานเพลง
เซลีน ดิออน มีผลงานด้านดนตรีมากมาย ด้านล่างนี้เป็นผลงานของเซลีน ดิออน ในขณะที่สังกัดค่ายโซนี่ บีเอ็มจี (โซนีมิวสิก) ที่บันทึกในห้องบันทึกเสียง ผลงานของเซลีน ดิออนดูได้ที่ ผลงานอัลบั้มเพลงของเซลีน ดิออน และ ผลงานซิงเกิลของเซลีน ดิออน

อัลบั้มภาษาอังกฤษที่บันทึกในห้องบันทึกเสียง
2533: ยูนิซัน
2535: เซลีนดิออน
2536: เดอะคัลเลอร์ออฟมายเลิฟ
2539: ฟอลลิ่งอินทูยู
2540: เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ
2545: อะนิวเดย์แฮสคัม
2546: วันฮาร์ต
2547: มิราเคิล
2550: เทกกิงแชนเซส
อัลบั้มภาษาฝรั่งเศสที่บันทึกในห้องบันทึกเสียง
2530: แองก็อกยีโต
2534: ดียงชองเตอปลามงดง
2538: เดอ
2542: ซีลซูฟฟีเซแดมเม
2545: อวีนฟีย์เอกาตร์ตีป
2550: แดล

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ

องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ

องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization) หรือ นาโต (NATO) เป็นองค์กรระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือในการรักษาความสงบ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ

ประเทศสมาชิกก่อตั้งประกอบด้วย ประเทศเบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา. โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) กรีซและตุรกีได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในขณะที่ประเทศเยอรมนีเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) ต่อมา มีประเทศโครเอเชียและ แอลบาเนีย มาเป็นสมาชิกในวันที่ 8 เมษายน 2008 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

สภาองคมนตรีแห่งพระราชินี

สภาองคมนตรีแห่งพระราชินี

สภาองคมนตรีแห่งพระราชินี หรือสภาองคมนตรีแห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Queen-in-Council) เป็นชื่อเรียกสภาองคมนตรีของอังกฤษในระหว่างที่มีพระมหากษัตริย์เป็นอิตถีเพศ (ยามเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงดำรงบุรุษเพศ สภานี้เรียก "สภาองคมนตรีแห่งพระมหากษัตริย์" หรือ "King-in-Council") นัยยะตามตัวอักษรของสภาดังกล่าวแล้วหมายว่าสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษทรงบริหารพระราชกิจตามคำแนะนำของสภาองคมนตรี ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งอังกฤษ โดยพฤตินัยสภาองคมนตรีแห่งพระราชินีปฏิบัติหน้าที่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการชุดพิเศษชุดหนึ่งซึ่งแต่งตั้งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เป็นผลให้การดำเนินงานของสภาองคมนตรีอยู่ภายใต้การพิจารณาทบทวนโดยศาล (อังกฤษ: judicial review) สมเด็จพระราชินีนาถจะมีพระราชเสาวนีย์เกี่ยวกับราชการแผ่นดินได้ก็แต่โดยคำแนะนำของสภาองคมนตรี พระราชเสาวนีย์ดังกล่าวในภาษาอังกฤษเรียกว่า "order-in-council"

ในประเทศอื่นอันเป็นเครือจักรภพยกเว้นประเทศอังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถอาจทรงมอบหมายให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประจำประเทศนั้น ๆ เป็นผู้บริหารพระราชอำนาจที่จะได้รับคำปรึกษาจากสภาองคมนตรีแทน ในกรณีนี้จะเรียกผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ดังกล่าวว่า "Governor-in-Council" หรือ "ผู้ว่าการรัฐโดยคำแนะนำของสภาองคมนตรี"

ควิเบก (เมือง)

ควิเบก (เมือง)

ควิเบก (ฝรั่งเศส: Ville de Québec) อ่านในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสว่า เกเบก หรือ ควิเบกซิตี (Québec City ชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาอังกฤษ) เป็นเมืองหลวงของรัฐควิเบก โดยควิเบกเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัฐรองมาจากมอนทรีออล ตัวเมืองอยู่ห่างจากมอนทรีออล 233 กิโลเมตร

ตัวเมืองจะมีจุดที่เป็นเมืองเก่า (Vieux-Québec) ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยในส่วนเมืองเก่านี้เองได้ถูกกำหนดให้เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก เมืองควิเบกมีประชากร 494,142 คน (สัมมโน 2549

ชื่อเมือง เกเบก เป็นภาษาของอินเดียนแดงเผ่าอัลกอนควิน จากคำว่า Kébec หมายถึงจุดที่แม่น้ำแคบเข้า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งของเมืองควิเบกพอดี

วิกตอเรีย

วิกตอเรีย (รัฐบริติชโคลัมเบีย)

วิกตอเรีย (รัฐบริติชโคลัมเบีย) (อังกฤษ : Victoria, British Columbia) เป็นเมืองหลวงของรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ตั้งอยู่ทางปลายสุดของเกาะแวนคูเวอร์ เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว มีประชากรประมาณ 78,659 คนในเขตเมือง

พิกัดภูมิศาสตร์: 48°25′43″N, 123°21′56″W
ประเทศ แคนาดา
รัฐ บริติชโคลัมเบีย
เข้าร่วม 1862 (พ.ศ. 2405)
รัฐบาล
- นายกเทศมนตรี Alan Lowe
- Governing body สภาเมืองวิกตอเรีย
- MP enise Savoie
- MLAs Carole James, Rob Fleming
เนื้อที่
- ทั้งหมด 19.68 กม.² (7.6 ไมล์²)
- Metro 540.4 km² (208.6 sq mi)
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 23 ม. (75 ฟุต)
ประชากร (2006)
- เมือง 78,659
- ความหนาแน่นประชากร 3,996.9/กม.² (10,351.9/ตร.ม.)
- เขตเมือง 330,000
เขตเวลา PST (UTC-8)
รหัสไปรษณีย์ V0S, V8N-V8Z, V9A-V9E
รหัสพื้นที่ +1-250
NTS Map 092B06
GNBC Code JBOBQ

เว็บไซต์: Victoria.BC.ca

มอนทรีออล

มอนทรีออล

คำขวัญ: Concordia Salus ("well-being through harmony")

ตำแหน่งเมืองมอนทรีออลในนรัฐควีเบค
พิกัดภูมิศาสตร์: 45°30′″N, 73°40′″W
ประเทศ แคนาดา
รัฐ รัฐควิเบก
Region Montréal
ค้นพบ พ.ศ. 2185
ก่อตั้ง พ.ศ. 2375
รัฐบาล
- นายกเทศมนตรี Gérald Tremblay
- ภาษา ฝรั่งเศส (ภาษาราชการ)
เนื้อที่ [1][2][3]
- เมือง 365.13 km² (140.98 ไมล์²)
- Urban 1,677 km² (647 sq mi)
- Metro 4,259 km² (1,644 sq mi)
ความสูง 233 ม. (764 ฟุต)
จุดต่ำสุด 6 ม. (20 ฟุต)
ประชากร (2006)[1][2][3]
- เมือง 1,620,693 (อันดับที่ 2)
- ความหนาแน่นประชากร 4,439/กม.² (11,496/ตร.ม.)
- ชานเมือง 3,316,615
- เขตเมือง 3,635,571
- Demonym Montrealer (English), Montréalais / Montréalaise (French)
เขตเวลา ตะวันออก (EST) (UTC-5)
- ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) EDT (UTC-4)
รหัสไปรษณีย์ H
รหัสพื้นที่ 514) และ (438)
เว็บไซต์: Ville de Montréal

มอนทรีออล (อังกฤษ: Montreal หรือ Montréal) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตการปกครองของรัฐควิเบก และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศแคนาดา มอนทรีออลเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดถึงในยุคทศวรรษ 1970 หลังจากนั้นเมืองโตรอนโตก็แซงหน้าไป เดิมเมืองมีชื่อว่า Ville-Marie ('City of Mary') (เมืองของแมรี)

ภาษาทางการของมอนทรีออลคือ ภาษาฝรั่งเศส จากข้อมูลในเอกสารทางการ มอนทรีออลยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ที่มีประชากรพูดภาษาฝรั่งเศสมากที่สุดในโลก รองจากปารีส
ในปี 2007 นิตยสารฟอร์บ จัดอันดับให้เมืองมอนทรีออลอยู่อันดับ 10 ของเมืองที่สะอาดที่สุดในโลก และในปี 2008 นิตยสารโมโนเคิล จัดอันดับให้เมืองมอนทรีออลอยู่ที่อันดับ 16 ใน 25 เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก

โอลิมปิกฤดูหนาว 2010

ประเทศแคนาดาในโอลิมปิกฤดูหนาว 2010

รหัสประเทศ: CAN
โอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ที่แวนคูเวอร์
นักกีฬา 206 คน ใน 15 ชนิดกีฬา
ผู้เชิญธงชาติ คลาร่า ฮิจส์ (พิธีเปิด)
โจนนีย์ รอคเชตต์ (พิธีปิด)
เหรียญ อันดับ: 1
ทอง 14 เงิน 7 ทองแดง 5 รวม 26

ประเทศแคนาดา เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 21 ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) ณ เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดาระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์ – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ดอว์สันครีก

ดอว์สันครีก


ดอว์สันครีก (อังกฤษ: Dawson Creek) เป็นเมืองเล็กในส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา มีพื้นที่เฉลี่ย 20.66 กม² และมีประชากร 15,000 คนในปี2009 ชื่อ “Dawson Creek” นั้นมีที่มาจากชื่อของลำธารที่ไหลผ่านตามชุมชน ซึ่งลาธารนั้นก็ได้รับชื่อมาต่อเนื่องจาก George Mercer Dawson โดยสมาชิกของกรมสำรวจพื้นที่ ที่ได้มาผ่านบริเวณนั้นในปี ค.ศ. 1879 ดั้งเดิมนั้นตัวเมืองเคยเป็นชุมชนการเกษตรขนาดเล็ก ซึ่งภายหลังเพิ่มมาเป็นส่วนกลางภูมิภาค ในสมัยที่สุดเขตตะวันออกของ Northern Alberta Railways นั้นได้ขยายออกมาในปี ค.ศ. 1932 และถัดมาในปีค.ศ. 1942 ประชากรของเมืองได้เพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งในช่วงเวลานั้นกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ใช้ทางรถไฟสุดเขตเพื่อถ่ายสินค้า ในขณะที่ Alaska Highway กำลังถูกสร้างอยู่ ถัดมาในช่วงปีค.ศ. 1950 ตัวเมืองดอว์สันครีกได้มีการเชื่อมไปถึงส่วนในของรัฐบริติชโคลัมเบีย โดยผ่านทางหลวงและทางรถไฟทะลุภูเขาร็อกกี้ และในช่วงปีค.ศ.1960 ความเจริญกาวหน้าของตัวเมืองนั้นก็ได้ช้าลงมา

ตัวเมืองนั้นอยู่บนพื้นที่ของทุ่งหญ้าอันแห้งและมีลมแรง ในเขตของ Peace River Country เมืองดอว์สันครีก ได้ชื่อว่า “Capital of the Peace” จากการที่ได้มีตำแหน่งของ Peace River Regional District และศูนย์บริการสำหรับพื้นที่ชนบททางใต้ของ Peace River นอกจากนั้นยังรู้จักกันในนามว่า “Mile 0 City” เพราะตำแหน่งของเมืองที่อยู่ฝั่งใต้ของ Alaska Highway ชุมชนนี้ยังเป็นเจ้าภาพของ heritage interpretation village, แกเลอรี่ศิลปะ และ พิพิธภัณฑ์ งานเทศกาลที่ขึ้นชื่อนั้นมี Fall Fair และ Spring Rodeo

วัฒนธรรม, นันทนาการ, สื่อมวลชน (Culture, Recreation, and Media)

Dawson Creek Art Galleryวัฒนธรรมของเมือง Dawson Creek นั้นกำเนิดมาจากการที่เป็นจุดศูนย์ Mile “0” แห่ง Alaska Highway เสา Mile “0” ที่กำหนดเป็นเสาธงประจำเมือง นั้นอยู่ในย่านศูนย์การค้าของเมืองที่อุดมไปด้วยประวัติศาสตร์ ซึ่งอยู่ห่างจาก Northern Alberta Railways Park ออกไปแค่เขตหนึ่งฝั่งใต้ สถานที่นี้ซึ่งเป็นพื้นที่สวนลาดทางที่มีพื้นที่ 4 เอเคอร์ (10.12 ไร่) นั้นปรกติจะเป็นที่ชุมนุมของนักท่องเที่ยว ในพื้นที่สวนนี้มีทั้ง Dawson Creek Art Gallery ซึ่งมีงานแสดงศิลปะและงานฝีมือต่างๆของคนพื้นเมือง อีกทั้งติดกับพิพิธภัณฑ์ The Station Museum ซึ่งมีนิทรรศการของสิ่งประดิษฐ์และงานมหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างของ NAR Railway และ Alaska Highway

เกรตเลกส์

เกรตเลกส์

เกรตเลกส์ ทะเลสาบทั้ง 5 แห่งเกรตเลกส์ (อังกฤษ : Great Lakes) เป็นชื่อเรียกทะเลสาบทั้ง 5 ได้แก่ สุพีเรีย มิชิแกน ฮูรอน อิรี และออนแทรีโอ เป็นกลุ่มของทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก บางครั้งชาวอเมริกันให้ฉายาว่าเป็น "ชายหาดที่สาม" เนื่องจากอาณาบริเวณที่กว้างขวาง ลักษณะระบบนิเวศน์ ชายหาดและพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ทะเลในแผ่นดิน" เพราะปริมาณน้ำจืดในทะเลสาบทั้ง 5 คิดเป็น 20 % ของปริมาณน้ำจืดที่มีอยู่บนโลก

ในทางภูมิศาสตร์เส้นแบ่งประเทศของสหรัฐอเมริกาและแคนาดาลากผ่านกลุ่มทะเลสาบเหล่านี้ มีเพียงทะเลสาบเดียวที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาคือทะเลสาบมิชิแกน บริเวณนี้เป็นแหล่งแร่เหล็กที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทะเลสาบซุพีเรีย

ภูมิศาสตร์
บริเวณเกรตเลกส์มิได้มีเฉพาะทะเลสาบใหญ่ทั้ง 5 เท่านั้น แต่ยังมีทะเลสาบและแม่น้ำอีกจำนวนมาก อีกทั้งยังมีเกาะอีกกว่า 35,000เกาะ

ทะเลสาบมิชิแกน - ฮูรอน
ทะเลสาบมิชิแกนและทะเลสาบฮูรอนมีผืนน้ำติดใหลถึงกันทำให้ทะเลสาบทั้งสองนี้บางครั้งเรียกว่า ทะเลสาบมิชิแกน - ฮูรอน ความสูงผิวน้ำของทั้งสองทะเลสาบนี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน คือ 176[5] เมตร และไม่ได้เชื่อมต่อกันด้วยแม่น้ำ แต่เชื่อมต่อกันด้วยช่องแคบแมคคิแนค

แม่น้ำ
แม่น้ำเซนต์แมรี เชื่อมระหว่าง ทะเลสาบสุพีเรีย กับ ทะเลสาบฮูรอน
แม่น้ำเซนต์แคลร์ เชื่อมระหว่าง ทะเลสาบฮูรอน กับ ทะเลสาบเซนต์แคลร์
แม่น้ำดีทรอยต์ เชื่อมระหว่าง ทะเลสาบเซนต์แคลร์ กับ ทะเลสาบอิรี
แม่น้ำไนแอการา รวมทั้งน้ำตกไนแอการา เชื่อมระหว่าง ทะเลสาบอิรี กับ ทะเลสาบออนแทรีโอ
แม่น้ำลอว์เรนซ์ เชื่อมระหว่าง ทะเลสาบออนเทรีโอ กับ มหาสมุทรแอตแลนติก

อะตอมมิค เบ๊ตตี้

อะตอมมิค เบ๊ตตี้


อะตอมมิค เบ๊ตตี้ (Atomic Betty) เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชันแนวตลกขบขันของประเทศแคนาดา ผลิตโดย Atomic Cartoons, Breakthrough Films & Television, และ Tele Images Kids ออกอากาศทาง TELETOON และ TÉLÉTOON ในประเทศแคนาดา Métropole 6 และ Télétoon ในประเทศฝรั่งเศสและการ์ตูนเน็ทเวิร์ก สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก สำหรับประเทศไทยช่องการ์ตูนเน็ทเวิร์กจะฉายทาง ทรูวิชั่นส์ ช่อง 52
การ์ตูนเรื่องอะตอมมิค เบ๊ตตี้ เป็นการ์ตูนที่ถูกสร้างโดยใช้ อะโดบี แฟลช ซึ่งทำให้แอนิเมชั่นค่อนข้างแข็งและลงสีแบบเซลเฉด
เรื่องราว
เรื่องราวของอะตอมมิค เบ๊ตตี้ ตัวเอกของเรื่อง เบ๊ตตี้ ในเวลาปกติ เธอก็เป็นเด็กผู้หญิงธรรมดาๆ แต่เธอมีความลับคือเธอเป็นสมาชิกของหน่วยผู้พิทักษ์กาแล็คติค ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องจักรวาล ซึ่งในแต่ละตอนเธอมักจะเผชิญหน้ากับปัญหาที่บ้านหรือโรงเรียน จากนั้นก็จะถูกขัดจังหวะและถูกเรียกตัวเพื่อหยุดยั้งเหล่าร้ายหรือแก้ปัญหาในจักรวาล (ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นแม็กซิมัส ไอ.คิว.) พร้อมกับผู้ช่วยสองคนของเธอ สปาร์กกี้ และหุ่นยนต์ เอกซ์-ไฟว์ หลังจากนั้นเธอต้องหาทางกลับบ้านและแก้ไขปัญหาที่คั่งค้างไว้
ตัวละคร
เบ๊ตตี้
อะตอมมิค เบ๊ตตี้
• อลิซาเบธ "เบ๊ตตี้" บาร์เร็ตต์/อะตอมมิค เบ๊ตตี้ (Elizabeth "Betty" Barrett/Atomic Betty) ตัวละครเอกของเรื่อง เป็นเด็กผู้หญิงอายุ 12 ปี เรียนในโรงเรียนมูสจอว์ไฮท์ในประเทศแคนาดา เบ๊ตตี้มีลักษณะออกไปทางทอมบอย เธอเป็นคนเก่งและมีความถนัดในกีฬาหลายๆประเภทและยังเล่นเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดและกีตาร์อีกด้วย ในอีกมุมหนึ่งเธอคือผู้พิทักษ์จักรวาล ในชื่ออะตอมมิค เบ๊ตตี้ ซึ่งสังกัดหน่วยพิทักษ์กาแล็คติค ซึ่งเป็นหน่วยป้องกันจักรวาลจากเหล่าร้าย เธอมักจะสวมกำไลที่เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยพิทักษ์กาแล็คติค ซึ่งเป็นทั้งอาวุธและเครื่องมือสื่อสาร ซึ่งเมื่อเกิดเหตุร้ายมันจะส่งสัญญาณเตือนออกมา (ซึ่งเธอมักใช้อ้างคนอื่นๆเวลาเกิดเรื่องแบบนี้ว่ากำไลเสีย) นอกจากนั้นเธอยังแอบชอบดีแลนเพื่อนร่วมโรงเรียน ดาวบ้านเกิดของเบ๊ตตี้ (หรือก็คือดาวโลก) ถูกเก็บเป็นความลับสุดยอดที่ไม่มีใครล่วงรู้นอกจากกลุ่มคนที่เกี่ยวกับข้องกับอะตอมมิค เบ๊ตตี้เท่านั้น

สปาร์กี้
• สปาร์กกี้ (Sparky) เป็นหนึ่งในลูกทีมของเบ๊ตตี้ เป็นมนุษย์ต่างดาวที่ออกจะอยู่ไม่สุข ชอบหยอกล้อกับเอกซ์-ไฟว์ และมักเป็นคนชอบกินแทบทุกอย่างที่เป็นอาหาร

เอ๊กซ์-ไฟว์
• เอกซ์-ไฟว์ (X-5) หุ่นยนต์ธรรมดาสามัญประจำทีมของผู้พิทักษ์กาแล๊คติค มีความรู้มากมายที่สำคัญต่อภารกิจ มีหน้าที่หลักๆในการควบคุมยาน

นายพลเดกิลล์
• นายพลเดกิลล์ (Admiral DeGill) ปลาทองที่เป็นหัวหน้าหน่วยของผู้พิทักษ์กาแล๊คติค เขามักจะเป็นคนมอบหมายภารกิจให้เบ๊ตตี้

โนอาห์
• โนอาห์ พาร์กเกอร์ (Noah Parker) เพื่อนสนิทของเบ๊ตตี้ เขาแอบชอบเบ๊ตตี้ มักเป็นคนที่เหยาะแหยะผิดกับเบ๊ตตี้

เพเนโลพี กับ ซาร่าห์และเมแกน
• เพเนโลพี แลง (Penelope Lang) เป็นคู่กัดของเบ๊ตตี้ มักจะท้าดวลเบ๊ตตี้ในแทบทุกเรื่อง เธอเป็นเด็กรวยจึงมักถูกตามใจเสมอๆ ชอบกัดเบ๊ตตี้เรื่องที่ด้อยกว่าตนเอง มักมีเพื่อนสองคนชื่อ ซาร่าห์ (Sarah) กับ เมแกน (Megan) ตามประกบเสมอๆ
• พาโลม่า (Paloma) เด็กผู้หญิงเชื้อสายละติน ที่เริ่มปรากฏตัวขึ้นมาในฤดูกาลที่สอง เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่โรงเรียนของเบ๊ตตี้ เธอสนิทสนมกับเบ๊ตตี้และโนอาห์ เธอมีอุปนิสัยคล้ายคลึงกับเบ๊ตตี้ แต่ในความเป็นจริงเธอเป็นมนุษย์ต่างดาวจากดาวเคราะห์ชาร์บีน่า ซึ่งเธอมีความสามารถในการเปลี่ยนรูปร่างตนเองให้เป็นสิ่งมีชีวิตอะไรก็ได้

แม๊กซิมัส ไอ.คิว.
• แม็กซิมัส ไอ.คิว. (Maximus I.Q.) เป็นเหล่าร้ายผู้ยิ่งใหญ่ในจักรวาล มักจะมีแผนการณ์ร้ายๆต่างเพื่อหวังสร้างความปั่นป่วนให้จักรวาล เป้าหมายหลักๆของเขาคือการจัดการอะตอมมิค เบ๊ตตี้ และสืบให้ได้ว่าบ้านของเธออยู่ที่ไหน หน้าตาคล้ายๆแมว

มินิมัส พี.ยู.
• มินิมัส พี.ยู. (Minimus P.U.) เป็นลูกน้องของแม๊กซิมัส เป็นลิงที่มีหน้าสองด้าน ด้านหนึ่งเหยาะแหยะ ด้านหนึ่งเกรี้ยวกราด มักจะทำตามคำสั่งแม๊กซิมัสเสมอๆ
ตัวละครรอง
ตัวละครบนโลก
• พ่อของเบ๊ตตี้ (คุณบาร์เร็ตต์) อาชีพเซลล์แมน เป็นคนนิสัยดี
• แม่ของเบ๊ตตี้ (คุณนายบาร์เร็ตต์) แต่งตัวเหมือนกับพวกช่างแต่งผม มักชอบเอาใจเพอร์ชี่
• บีทริซโซ่ ย่าของเบ๊ตตี้ เป็นอดีตผู้พิทักษ์กาแล็คติคที่เกษียณแล้ว มักมาช่วยเบ๊ตตี้เมื่อเธอตกอยู่ในเหตุคับขัน
• จิมมี่ ปู่ของเบ๊ตตี้ปรากฏตัวในตอน The No-L9

เพอร์ซี่
• เซอร์ เพอร์เซฟัส (Sir Purrsefus) หรือ เพอร์ซี่ (Pursy) แมวพันธุ์วิเชียรมาศที่เลี้ยงในบ้านเบ๊ตตี้ เป็นแมวที่ถูกแม่เอาใจมากเกินไป ชอบแกล้งเบ๊ตตี้และก่อเรื่องยุ่ง
• ไคล์ (Kyle) ลูกพี่ลูกน้องของเบ๊ตตี้ มักชอบสร้างปัญหาให้เบ๊ตตี้เสมอๆ
• ดีแลน (Dylan) หนุ่มฮอตประจำโรงเรียน เป็นคนเก่งและมักเป็นที่หลงใหลของสาวๆในโรงเรียน ดีแลนสนใจนตัวเบ๊ตตี้เล็กน้อย เพราะความสามารถของเธอ
• ดันแคน เพน (Duncan Paine) เป็นเด็กเกเรประจำโรงเรียน แอบชอบเพเนโลพี
• คุณปีเตอร์สัน (Mr.Peterson) ครูใหญ่ประจำโรงเรียน มูส จอว์ ไฮท์
ตัวละครนอกโลก
• อะตอมมิค โรเจอร์ (Atomic Roger) ตัวละครประเภทอีโก้จัด สังกัดหน่วยผู้พิทักษ์กาแล๊คติค ชอบอวดผมสีทองซึ่งเป็นวิก เขามีน้องชายฝาแฝดชื่อดอดจเจอร์ (Dodger) ซึ่งมีผมสีทองจริงๆ ทั้งสองแอบชอบเบ๊ตตี้ ไม่แน่ใจว่าเขาเป็นชาวดาวโลกหรือไม่

สปินด์ลี่ แทม คานูชู
• สปินด์ลี่ แทม คานูชู (Spindly Tam Kanushu) เป็นอาจารย์สอนศิลปะป้องกันตัวให้เบ๊ตตี้
• ซูเลีย (Zulia) แม่ของสปาร์กกี้ เป็นแม่ที่ใจดีและรักลูกๆ
• บี-วัน (B-1) ลุงของเอกซ์-ไฟว์ อดีตเคยเป็นหุ่ยนต์ทางการทหาร แต่ปัจจุบันตกรุ่นไปแล้ว เขามักถูกเปรียบเทียบว่าแก่
• ผู้การแม็คสลิม (Commander McSlim) หัวหน้าหน่วยผู้พิทักษ์กาแล็คติค เป็นหัวหน้าหน่วยฝึกซ้อม
เหล่าร้าย
• ไอซีเคลีย (Iciclia) เป็นวายร้ายหญิงผู้ใช้พลังน้ำแข็ง มักเสาะแสวงหาความเยาว์วัยโดยใช้ผล มอนเตโกเบอร์รี่
• อินแฟนเตอร์ (Infantor) เป็นวายร้ายที่มีลักษณะเหมือนเด็ก มักมีหุ่นพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ ชอบจับผู้อื่นมาเล่นเป็นเกม
• นิวเคลีย (Nuclea) วายร้ายหญิงผู้ที่สามารถดูดกลืนพลังงานมาขยายร่างกายตนเองได้
• คาเมเลี่ยน (Chameleon) เป็นวายร้ายที่สามารถเปลี่ยนรูปร่างตนเองเป็นอะไรก็ได้
• ดร.ซีรีบรัล (Dr.Cerebral) เป็นศาสตราจารย์สติเฟื่อง เป็นคนฉลาดและมักเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรทั้งหลาย
• พอนตีฟิดอร่า (Pontifidora the Conquistadora) อดีตคู่หมั้นของนายพลเดกิลล์ ก่อนที่จะถูกจับได้ว่าเป็นอาชญากรและถูกเนรเทศไปดาวเคราะห์เวก้า

ออตตาวา

ออตตาวา


เมืองออตตาวา (Ottawa) เป็นเมืองหลวงของแคนาดาซึ่งเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยความปลอดภัยและด้วยความสวยงามของ ออตตาวา ทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจกับสถานที่ทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ ซึ่งมีอยู่มากมายทั่วทั้งเมือง อีกทั้งยังตื่นตาตื่นใจไปกับความบันเทิงหลากหลายรูปแบบในเวลากลางคืน จากการล่องเรือในแม่น้ำออตตาวาช่วงหน้าร้อนไปถึงการเล่นสเกตน้ำแข็งที่ คลอง Rideau ในช่วงหน้าหนาว ทำให้ออตตาวาเป็นเมืองที่มีกิจกรรมให้ทำตลอดทุกฤดู อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีชีวิตชีวา ปลอดภัย และมีประเพณีต่างๆ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ อนุสาวรีย์ และสวนสาธารณะให้เที่ยวชมมากมาย

Miguasha National Park

Miguasha National Park


Miguasha National Park คือพื้นที่ทางธรรมชาติทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐควิเบก บนชายฝั่งด้านใต้ของคาบสมุทร Gaspe ได้รับการยกย่องให้เป็นแหล่งศึกษาทางบรรพชีวินวิทยาในยุคดีโวเนียนที่สมบูรณ์ที่สุด ด้วยอายุทางธรณีวิทยา 370 ล้านปี พื้นที่นี้มีฟอสซิลของปลาจากยุคดีโวเนียนอยู่ราว 5-6 กลุ่ม โดยเฉพาะฟอสซิลของปลากลีบเนื้อที่พบเป็นจำนวนมากและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด

ลองโซเมดูส

ลองโซเมดูส


ลองโซเมดูส (ฝรั่งเศส: L'Anse-aux-Méduses, /ɑ̃-so-medyz/; อังกฤษ: L'Anse aux Meadows, /ˈlɑːnsi ˈmɛdoʊz หรือ "หุบผาแมงกะพรุน") เป็นแหล่งโบราณคดีที่ปลายสุดด้านทิศเหนือของเกาะนิวฟันด์แลนด์ ในมณฑลนิวฟันด์แลนด์และลาบราดอร์ แคนาดา ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2503 เป็นหมู่บ้านของชาวนอร์สที่เป็นที่รู้จักเพียงแห่งเดียวในอเมริกาเหนือนอกจากที่กรีนแลนด์ ถือว่าเป็นตัวอย่างของ Pre-Columbian trans-oceanic contact ที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างของเพียงแห่งเดียว และมีชื่อเสียงเนื่องจากเป็นไปได้ว่าจะเกี่ยวข้องอาณานิคม Vindland ที่ก่อตั้งโดย Leif Ericson เมื่อประมาณ พ.ศ. 1546 หรืออาจเกี่ยวข้องกับการสำรวจทวีปอเมริกาของชาวนอร์สด้วย
การค้นพบและความสำคัญ
เมื่อ พ.ศ. 2503 Helge Ingstad นักสำรวจชาวนอร์เวย์ และ Anne Stine Ingstad ภรรยา ได้ค้นพบซากของหมู่บ้านชาวนอร์สที่นี่
ลองโซเมดูสเป็นแหล่งโบราณคดีของนอร์สที่เป็นที่รู้จักเพียงแหล่งเดียวในอเมริกาเหนือนอกเหนือจากที่กรีนแลนด์ และแสดงให้เห็นการสำรวจและตั้งถิ่นฐานโดยชาวยุโรปที่ไกลที่สุดในโลกใหม่ก่อนการเดินทางของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เกือบ 500 ปี เมื่อ พ.ศ. 2521 องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีนี้ให้เป็นมรดกโลก
การตั้งถิ่นฐาน
การขุดสำรวจทางโบราณคดีมีขึ้นในทศวรรษที่ 1960 โดยคณะนานาชาติที่นำโดย Anne Stine Ingstad และต่อมาอยู่ภายใต้การควบคุมของ Parks Canada เมื่อทศวรรษที่ 1970 หลังจากการขุดสำรวจในแต่ละระยะ สถานที่จะถูกกลบฝังอีกครั้งเพื่อปกป้องและอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม

ท่าอากาศยานในแคนาดา

ท่าอากาศยานในแคนาดา
ท่าอากาศยานนานาชาติโทรอนโตเพียร์สัน
ท่าอากาศยานนานาชาติมอนทรีอัล ปิแอร์ อิลเลียต ทรูโด
ท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์

ท่าอากาศยานนานาชาติโทรอนโต เพียร์สัน (Toronto Pearson International Airport) หรือท่าอากาศยานเพียร์สัน (Pearson Airport) ตั้งอยู่ที่เมืองมิสซิสซูกา ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 27 กิโลเมตร (17 ไมล์) ของโทรอนโต รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา เป็นประตูหลักในการเข้าสู่แคนาดา และเป็นท่าอากาศยานหลักของแอร์แคนาดา และเวสต์เจ็ต
ท่าอากาศยานแห่งนี้เดิมชื่อว่า ท่าอากาศยานมอลตัน และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ท่าอากาศยานนานาชาติโทรอนโต ในปีพ.ศ. 2503 และท่าอากาศยานนานาชาติเลสเตอร์ บี. เพียร์สัน ในปีพ.ศ. 2527 เพื่อเป็นเกียรติต่ออดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของแคนาดา เลสเตอร์ บี. เพียร์สัน

ท่าอากาศยานนานาชาติมอนทรีอัล ปิแอร์ อิลเลียต ทรูโด (ฝรั่งเศส: Aéroport international Pierre-Elliott-Trudeau de Montréal) เดิมคือ ท่าอากาศยานนานาชาติมอนทรีอัล ดอร์วาล ตั้งอยู่ที่เมืองดอร์วาล, มอนทรีอัล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานหลักของแอร์แคนาดา และแอร์ทรานแซต และยังเป็น 1 ใน 8 ของท่าอากาศยานในแคนาดาที่เป็นที่ตั้งของด่านตรวจลงตราล่วงหน้าของสหรัฐอเมริกา
ท่าอากาศยานแห่งนี้เปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน เพื่อเป็นเกียรติต่อ ปิแอร์ อิลเลียต ทรูโด อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 15 ของแคนาดา เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547

ท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์ (Vancouver International Airport) ตั้งอยู่ที่ริชมอนด์, บริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ห่างจากตัวเมืองแวนคูเวอร์ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานหลักของแอร์แคนาดา และเป็นท่าอากาศยานรองของเวสต์เจ็ต
แวนคูเวอร์ ยังเป็น 1 ใน 8 ของท่าอากาศยานในแคนาดา ที่เป็นที่ตั้งของด่านตรวจลงตราล่วงหน้าของสหรัฐอเมริกา

มหาวิทยาลัยลาวาล

มหาวิทยาลัยลาวาล
มหาวิทยาลัยลาวาล (ฝรั่งเศส: Université Laval) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในแคนาดา และเป็นมหาวิทยาลัยแรกในอเมริกาเหนือที่เปิดสอนเป็นภาษาฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองควิเบก เมืองหลวงของรัฐควิเบก ลาวาลถูกจัดอยู่หนึ่งในสิบมหาวิทยาลัยด้านวิจัยทางด้านการแพทย์ของแคนาดา และหนึ่งในสิบมหาลัยชั้นนำของแคนาดา และในปี 2007 ลาวาลจัดอยู่อันดับที่ 35 ของมหาวิทยาลัยทั้งหมดในแคนาดาและอเมริกา เป็นอันดับที่ 4 ของแคนาดา ในด้านชีววิทยา และสิ่งแวดล้อม
ประวัติ
มหาวิทยาลัยลาวาลถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1663 ที่ Séminaire de Québec หรือเมืองเก่าของเมืองควิเบก โดยหัวหน้าบาทหลวงแห่งคิวเบก ฟรองซัว เดอ ลาวาล ต่อมาในปี 1852 มีการจัดตั้งวิทยาเขตใหม่ที่เมืองมอนทรีออล และวิทยาเขตใหม่นี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น มหาวิทยาลัยมงเตรอาล (Université de Montréal) ในปี 1919 แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยลาวาลตั้งอยู่ที่เขต Sainte-Foy ย่านศูนย์การค้าของเมืองควิเบก และสถานที่เก่าที่ Séminaire de Québec เป็นสถานที่เรียนของคณะสถาปัตยกรรม
ในปี 2002 ลาวาลได้เปิดสอนหลักสูตรต่างๆมากกว่า 350 หลักสูตร มีนักศึกษากว่า 37000 และ 20% ของนักศึกษาทั้งหมด กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก และมีนักศึกษาต่างชาติมากกว่า 2500 คนมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ในแต่ละปี (ในปี 2007 มีนักเรียนไทยราว 10 คนที่กำลังเรียนภาษาฝรั่งเศสใน สถาบันสอนภาษาของมหาวิทยาลัย และ 1 คนกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี) และราว 1000 คนมาจากรัฐอื่นของแคนาดา และยังเป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่เปิดสอนหลักสูตร forestry engineers ในรัฐคิวเบก
วิทยาเขตหลักของลาวาล มีเนื้อที่ประมาณ 1.2 ตร.กม. มากกว่า 30 อาคาร และอุโมงค์ใต้ดินยาว 10 กม. เชื่อมโยงอาคารต่างๆ ในวิทยาเขตไว้เป็นทางเดินในช่วงฤดูหนาว บรรยากาศรอบๆ วิทยาเขตประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด สนามหญ้าและสัตว์ต่างๆ มากกว่า 67 ชนิด และพันธุ์นกกว่า 60 ชนิด
คณะวิชา
• สถาปัตยกรรม การออกแบบ และวางผังเมือง
• นิติศาสตร์
• บัณฑิตวิทยาลัย
• ป่าไม้และภูมิสารสนเทศ
• อักษรศาสตร์และวรรณคดี
• แพทยศาสตร์
• ทันตแพทย์
• ดนตรี
• เภสัชศาสตร์
• ปรัชญา
• ศาสตร์การบริหาร
• เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร
• ศึกษาศาสตร์
• วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
• พยาบาลศาสตร์
• สังคมศาสตร์
• ศาสนศาสตร์
นักศึกษาไทยในลาวาล
นักศึกษาไทยโดยทุนรัฐบาลไทยและทุนรัฐบาลต่างประเทศได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นจำนวนพอสมควรในช่วงที่ผ่านมา เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยเฉพาะด้านภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส แต่ในปี 2006 ได้มีนักศึกษาไทยจากทุนรัฐบาลไทยในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้มาเรียนต่อในรัฐคิวเบกจำนวน 39 คน เพื่อศึกษาในระดับปริญญาตรีในทุกสาขาวิชา และได้มี นักศึกษาไทย 9 คนมาเรียนภาษาฝรั่งเศสที่โรงเรียนสอนภาษาของมหาวิทยาลัยลาวาล

ดอลลาร์แคนาดา

ดอลลาร์แคนาดา


ดอลลาร์แคนาดา (สัญลักษณ์ $ โค้ด CAD) เป็นสกุลเงินหลักของประเทศแคนาดา โดยปกติจะใช้ย่อในสัญลักษณ์ดอลลาร์ ($) หรือใช้ C$ เพื่อแบ่งแยกกับสกุลเงินดอลลาร์อื่น 1 ดอลลาร์แคนาดาแบ่งย่อยออกเป็น 100 เซนต์ ดอลลาร์แคนาดาเป็นหน่วยเงินที่มีการแลกเปลี่ยนเป็นอันดับ 7 ของโลก (ณ 2550)

ตราแผ่นดินของแคนาดา

ตราแผ่นดินของแคนาดา


ตราแผ่นดินของแคนาดา ยุคแรกใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2412-2464 เดิมตราแผ่นดินแบ่งเป็นโล่ 4 ช่อง เพื่อแสดงถึงจังหวัดทั้ง 4 คือ ออนตาริโอ ควิเบก โนวาสโกเชีย นิวบรันส์วิก แต่ละจังหวัดมีตราประจำจังหวัดคือ
• ช่องที่ 1 ช่องมุมบนซ้าย ออนตาริโอ รูปกากบาทเซนต์จอร์จสีแดงด้านบนโล่ และใบเมเปิลสีเหลือง3ใบใน1กิ่งบนพื้นโล่สีเขียว
• ช่องที่ 2 ช่องมุมบนขวา ควิเบก รูปกากบาทเซนต์จอร์จสีขาวบนพื้นนำเงิน แต่ละช่องมีรูปสัญลักษณ์ดอกลิลลีสีขาววางตรงกลางช่อง
• ช่องที่ 3 ช่องมุมล่างซ้าย โนวาสโกเชีย รูปกากบาทเซนต์แอนดรูว์สีน้าเงินบนพื้นขาว ตรงกลางกากบาทมีโล่รูปสิงโตสกอตโบราณสีแดงในกรอบขอบลายสกอตสีแดงบนพื้นเหลือง แทนสกอต
• ช่องที่ 4 ช่องมุมล่างขวา นิวบรันส์วิก รูปสิงโตอังกฤษโบราณสีเหลืองตัวเดียวบนพื้นสีแดงด้านบนโล่ และมีรูปเรือใบโบราณที่แล่นในทะเลบนพื้นท้องฟ้าสีเหลือง
ในช่วง พ.ศ. 2465-2508 ได้เปลี่ยนตราใหม่เป็นตราอาร์มแบ่งเป็น 5 ช่อง ซึ่งแต่ละช่องมีความหมายดังนี้คือ
• ช่องที่ 1 ช่องมุมบนซ้าย รูปสิงโตอังกฤษโบราณสีเหลือง 3 ตัวบนพื้นสีแดง แทนอังกฤษ
• ช่องที่ 2 ช่องมุมบนขวา รูปสิงโตสกอตโบราณสีแดงในกรอบขอบลายสกอตสีแดงบนพื้นเหลือง แทนสกอต
• ช่องที่ 3 ช่องกลางซ้าย รูปฮาร์พเกลลิคสีทองบนพื้นนำเงิน แทนไอร์แลนด์
• ช่องที่ 4 ช่องกลางขวา รูปสัญลักษณ์ดอกลิลลีสีทอง 3 ดอกบนพื้นนำเงิน แทนฝรั่งเศส
• ช่องที่ 5 ช่องล่างสุด รูปใบเมเปิ้ล 3 ใบใน 1 กิ่งบนพื้นสีขาว แทนแคนาดา แต่รูปแบบใบเมเปิลที่ใช้มีการเปลี่ยนแปลง 2 ครั้ง คือ ใน พ.ศ. 2465-2500 ใช้รูปใบเมเปิ้ลเป็นใบสีเขียว ต่อมาเปลี่ยนเป็นใบเมเปิ้ลเป็นใบสีแดงในช่วง พ.ศ. 2500-2508
ตราแผ่นดินของแคนาดาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เริ่มใช้มาตั้ง พ.ศ. 2537

สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา

สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา


ร้อยละ 12 ของคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ในโลกนี้เป็นชาวแคนาดา และภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาราชการสองภาษาของแคนาดา (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ) กฎหมายของแคนาดากำหนดให้บริการต่างๆของรัฐบาลกลางจะต้องจัดให้เป็นสองภาษาเสมอ กฎหมายต่างๆ ที่ผ่านรัฐสภา จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่วางขายในแคนาดาจะต้องมีภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ร้อยละ 22 ของชาวแคนาดาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 18 ของชาวแคนาดาสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศสมีสถานะเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวของรัฐควิเบก (เกเบก - Québec) มาตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยภาษาฝรั่งเศส (Bill 101) ผลสำคัญข้อหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้เด็กในควิเบกต้องได้รับการศึกษาเป็นภาษาฝรั่งเศส ยกเว้นถ้าบิดามารดาของเด็กคนนั้นได้รับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษภายในประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นการทำลายค่านิยมของผู้อพยพที่มักส่งบุตรหลานของคนเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ กฎหมายนี้ยังกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการพิจารณาคดี โฆษณา การอภิปรายในสภา และการพิจารณาคดีในศาล ภายในควิเบก ในปี พ.ศ. 2536 กฎหมายนี้ได้รับการแก้ไข โดยอนุญาตให้เขียนป้ายสัญลักษณ์หรือโฆษณาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้บ้าง ตราบใดที่ยังมีภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังทำให้คนที่พูดภาษาอังกฤษแต่อาศัยในควิเบกสามารถรับบริการทางสุขภาพและบริการของรัฐเป็นภาษาอังกฤษได้
รัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ ได้แก่รัฐนิวบรันสวิก ยูคอนเทร์ริทอรี นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ และนูนาวุต ในรัฐออนแทรีโอ และแมนิโทบา ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาราชการ แต่รัฐบาลของรัฐทั้งสองรัฐได้จัดการบริการต่าง ๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสคู่กับภาษาอังกฤษ ในบริเวณที่มีคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่มาก

Canada

แคนาดา
Canada


ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง :
ตั้งอยู่ทางเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ และทางตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์คติก และทางใต้ติดกับประเทศสหรัฐอเมริกา

พื้นที่ 9,976,140 ตารางกิโลเมตร ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก

เมืองหลวง กรุงออตตาวา (Ottawa)

เมืองสำคัญ โทรอนโต(Toronto) มอนทรีออล(Montreal) แวนคูเวอร์ (Vancouver)
ควิเบก ซิตี้ (Quebec City) แฮลิแฟ็กซ์ (Halifax) วินนิเป็ก (Winnipeg) เอ็ดมันตัน
(Edmonton)

ภูมิอากาศ ภาคพื้นทวีป (มีหิมะในฤดูหนาว และอบอุ่นในฤดูร้อน)

ประชากร 33.2 ล้านคน (กรกฎาคม 2551)

ภาษา อังกฤษและฝรั่งเศส

ศาสนา โรมันคาธอลิก (ร้อยละ 42.6) โปรแตสแตนท์ (ร้อยละ 23.3) อิสเทอร์นออโธดอกซ์ และยิว (ร้อยละ 18)
อิสลามและพุทธศาสนามีอัตราเพิ่มค่อนข้างรวดเร็ว เนื่องจากนโยบายการรับคนนอกประเทศมาตั้งถิ่นฐาน

หน่วยเงินตรา แคนาเดียนดอลลาร์ (1 CAD ประมาณ 33.72บาท) (2 สิงหาคม 2549)

GDP 1,274 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ 2550)

รายได้เฉลี่ยต่อหัว 38,200 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ 2550)

ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ 39.31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณการ 2550)

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.6 (ประมาณการ 2550)
วันชาติ 1 กรกฎาคม

ระบอบการเมือง ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)

ระบบการปกครอง สมาพันธรัฐ (Confederation) แบ่งเขตการปกครองออกเป็น
10 มณฑล (Province) และ 3 เขตปกครองพิเศษ (Territory) โดยแต่ละมณฑลมีมุขมนตรี (Premier) เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย

1. Ontario 2. Quebec

3. Nova Scotia 4. New Brunswick

5. Manitoba 6. British Columbia

7. Prince Edward Island 8. Saskatchewan

9. Alberta 10. Newfoundland and Labrador

11. Northwest Territories 12. Yukon Territory

13. Nunavut

ประมุข สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ
(Governor General) ซึ่งปัจจุบันคือ นาง Michaëlle Jean (The Right Honourable
Michaëlle Jean)

นายกรัฐมนตรี นาย Stephen J. Harper (The Right Honourable Stephen J. Harper)

พรรคการเมือง มีพรรคการเมืองที่สำคัญ 4 พรรค ได้แก่

1. พรรค Conservative (เกิดจากการรวมตัวของพรรค Progressive Conservative (PC)
และพรรค Canadian Alliance แนวอนุรักษ์นิยม

2. พรรค Liberal (LP) แนวเสรีนิยมสายกลาง

3. พรรค New Democratic Party (NDP) แนวก้าวหน้า

4. พรรค Bloc Quebecois (BQ) มีนโยบายแยกมณฑลควิเบกเป็น ประเทศเอกราช






การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองแคนาดาฝั่งตะวันออกในปี ค.ศ.1534 และได้เริ่มตั้งถิ่นฐานในปี ค.ศ.1604 ปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1713 อันเนื่องจากเหตุผลด้านการประมงและการค้าขนสัตว์ ซึ่งในที่สุดดินแดนแคนาดาตกเป็นของอังกฤษ ปี ค.ศ.1849 แคนาดาได้รับการยอมรับในสิทธิการปกครองตนเอง และต่อมาปี ค.ศ.1867 ได้มีการจัดตั้ง Dominion of Canada ในลักษณะของสมาพันธรัฐซึ่งประกอบด้วย Upper และ Lower Canada (มณฑล Ontario, Quebec, Nova Scotia และ New Brunswick ในปัจจุบัน) และต่อมาได้ขยายออกไปยังมณฑลภาคตะวันตกจนถึงมณฑล British Columbia ปี ค.ศ.1931 แคนาดาได้รับสถานะเป็นประเทศที่เท่าเทียมกับอังกฤษโดยมีกษัตริย์อังกฤษเป็นพระประมุข และต่อมาในปี ค.ศ.1949 มณฑล New Foundland and Labrador เข้าร่วมเป็นมณฑลที่สิบของแคนาดา


การเมืองการปกครอง
การเมืองภายใน

เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 แคนาดาได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งที่ 39 จำนวน ส.ส. 308 ที่นั่ง ปรากฏว่าพรรค Conservative (พรรอนุรักษ์นิยม) ได้รับเลือกตั้งมากที่สุดคือ 124 ที่นั่งจากทั้งหมด 308 ที่นั่ง ในขณะที่พรรค Liberal (พรรครัฐบาล) ได้ 103 ที่นั่ง พรรค Bloc Quebecois ได้ 51 ที่นั่ง พรรค National Democratic Party (NDP) ได้ 29 ที่นั่ง และอีก 1 ที่นั่งเป็นผู้สมัครอิสระ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนฐานอำนาจจากพรรค Liberal ซึ่งบริหารประเทศเป็นระยะเวลาต่อเนื่องถึง 12 ปี เป็นพรรค Conservative
แม้ว่าพรรค Conservative จะชนะการเลือกตั้ง แต่มีจำนวน ส.ส. ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส. ทั้งหมด จึงทำให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย โดยจำเป็นต้องหาแนวร่วมจากพรรคอื่นโดยเฉพาะพรรค NDP เพื่อสนับสนุนการลงมติในรัฐสภา นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ประกอบด้วย ส.ส. หน้าใหม่ที่มีอายุน้อยหลายคน ซึ่งมีส่วนช่วยให้พรรค Conservative ชนะการเลือกตั้งโดยเฉพาะในมณฑลควิเบกซึ่งเป็นจุดอ่อนของพรรคมาโดยตลอด
พรรค Conservative ภายใต้การนำของนาย Stephen Harper มีนโยบายสนับสนุนการลดภาษีและปกป้องผลประโยชน์ของชาวแคนาดา สนับสนุนการขยายกำลังทหารเพื่อภารกิจรักษาสันติภาพในต่างประเทศและช่วยบรรเทาทุกข์ในกรณีเกิดภัยพิบัติ เน้นการเข้าถึงระบบสาธารณสุข ลดปัญหาอาชญากรรม และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปรับปรุงการบริหารให้มีธรรมาภิบาล ซึ่งพรรค Conservative ใช้เป็นประเด็นโจมตีการบริหารรัฐบาลของพรรค Liberal ในระหว่างการหาเสียง อย่างไรก็ตาม พรรค Conservative ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีนโยบายคัดค้านกฎหมายอนุญาตการทำแท้ง คัดค้านการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน รวมทั้งมีนโยบายนิยมสหรัฐฯ (Neo-Conservative)

เมื่อ 14 ส.ค. 2550 นาย Stephen Harper นรม. แคนาดาได้ประกาศปรับ ครม. 9 ตำแหน่ง ดังนี้
1.) นาย Gordon O'Conner รมว. กห. เป็น รมว. National Revenue
2.) นาย Peter MacKay รมว. กต. เป็น รมว. กห.
3.) นาย Maxime Bernier รมว. อต. เป็น รมว. กต.
4.) นาย Chuck Strahl รมว. กษ. เป็น รมว. Indian Affairs and Northern Development
5.) นาย Jim Prentice รมว. Indian Affairs เป็น รมว. อต.
6.) นาง Josée Verner รมว. International Cooperation เป็น รมว. Canadian Heritage and Status of Women
7.) นาย Gerry Ritz, Secretay of State (Small Business and Tourism) เป็น รมว. กษ.
8.) นาง Diane Ablonczy, Parliamentary Secretary to the Finance Minister เป็น Secretay of State (Small Business and Tourism)
9.) นาง Bev Oda รมว.Canadian Heritage เป็น รมว. International Cooperation
ทั้งนี้ การปรับคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเกือบทั้งหมดเป็นการสลับตำแหน่ง มีเพียงนาง Carol Skelton รมว. National Revenue ซึ่งได้ประกาศว่าจะไม่ลงเลือกตั้งในครั้งหน้า ถูกปรับออก




เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจการค้า
แคนาดาเป็นประเทศเดียวในกลุ่มจี 8 ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก รองจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เยอรมนี จีนสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และอิตาลี และเป็นประเทศเดียวในกลุ่มจี 8 (G 8) ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญเนื่องจากแคนาดาเป็นประเทศที่มีมาตรการการค้าที่เสรีและโปร่งใสมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก แคนาดาเป็นประเทศที่พึ่งพิงการค้ากับต่างประเทศเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการค้าต่อ GDP ถึงร้อยละ 45 สำหรับการส่งออก และร้อยละ 40 สำหรับการนำเข้า รูปแบบการค้าและการลงทุนของแคนาดาจะพึ่งพิงกับสหรัฐฯเป็นหลัก ทั้งสหรัฐฯและแคนาดาเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดระหว่างกันทั้งการนำเข้าและการส่งออก อีกทั้งยังมีการจัดทำความตกลง North American Free Trade Agreement (NAFTA) ซึ่งยิ่งช่วยเสริมมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศให้มากยิ่งขึ้น
สำหรับระบบภาษีนำเข้าของแคนาดาประมาณ ร้อยละ 90 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 อีกทั้งยังให้สิทธิพิเศษแก่สินค้าที่นำเข้าจากประเทศด้อยพัฒนา ยกเว้นในสินค้าประเภทนม สัตว์ปีกและไข่
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ทองคำ ถ่านหิน เหล็ก นิเกิ้ล โปแต๊ซ ยูเรเนียมและสังกะสี รวมทั้งป่าไม้
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินแร่ เครื่องยนต์ รถยนต์ กระดาษ ไม้เนื้ออ่อน พลังงานปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้า อลูมิเนียม อุปกรณ์สื่อสาร ชิ้นส่วนอากาศยาน ระบบคอมพิวเตอร์
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ เครื่องยนต์ สินค้าอุปโภค บริโภค อาหาร
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เม็กซิโก และเยอรมนี
ภาคการบริการเป็นภาคกิจการที่สำคัญที่สุดของแคนาดา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของภาคเศรษฐกิจของประเทศ ธนาคารชั้นนำของแคนาดา 6 แห่ง เป็นหนึ่งใน 100 ธนาคารชั้นนำของโลก และมีสาขาอยู่ในต่างประเทศทั่วโลกกว่า 60 ประเทศ รวมถึงธนาคาร Nova Scotia ซึ่งมีสาขาอยู่ในไทยด้วย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม ทำให้แคนาดาสามารถพัฒนาความก้าวหน้าในภาคกิจการนี้เป็นอย่างมาก
อุตสาหกรรมที่สำคัญของแคนาดา ได้แก่ อุตสาหกรรมป่าไม้ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า การสื่อสารและคมนาคม เหมืองแร่ และพลังงาน
การลงทุน
แคนาดาเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติในทุกกิจการยกเว้นในบางกิจการ ได้แก่ กิจการที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม การเงิน การขนส่ง และบริการด้านโทรคมนาคม นอกจากนี้ ยังมีกิจการประเภทอื่นๆ ที่ห้ามการลงทุนหรือจำกัดการลงทุนจากต่างชาติ ได้แก่ การประมง ซึ่งอนุญาตเฉพาะชาวแคนาดาเท่านั้น การขนส่งทางอากาศ ซึ่งอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน ร้อยละ 25 การผลิตและการจำหน่ายหนังสือ การกระจายเสียง (ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของหุ้นที่มีสิทธิ์ออกเสียงและไม่เกินร้อยละ 33 ในกรณีที่เป็นบริษัทแม่) การจัดจำหน่ายภาพยนตร์ การจัดพิมพ์เอกสารไตรมาส บริการด้านการเงิน (มีข้อจำกัดด้านการถือหุ้นซึ่ง แตกต่างตามขนาดของสถาบันการเงิน และขึ้นอยู่กับแต่ละเมือง) โทรคมนาคม (จำกัดการถือหุ้นของต่างชาติไม่เกินร้อยละ 46.7) ทั้งนี้ ตามข้อตกลงเอเปค แคนาดาจะต้องเปิดเสรีการค้าและการลงทุนภายในปี 2553
รัฐบาลแคนาดาได้ปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนให้มีความสะดวกและเอื้ออำนวยต่อการ ลงทุนของต่างชาติตลอดเวลา รัฐบาลแคนาดาให้สิทธิประโยชน์เพื่อชักจูงการลงทุนจากต่างชาติ รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่อการลงทุนในกิจการการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นกิจการเป้าหมายของรัฐบาลแคนาดา รัฐบาลแคนาดายังมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับเทคโนโลยีเพื่อรองรับกับความต้องการของต่างชาติ นอกจากนี้ แรงงานแคนาดายังมีความรู้และมีประสิทธิภาพ และอัตราการย้ายงานมีต่ำมาก
สหรัฐฯ เป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนในแคนาดาเป็นอันดับหนึ่ง โดยจะลงทุนในกิจการที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ได้แก่ กิจการพลังงานและเหมืองแร่
กิจการที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจ ได้แก่ กิจการด้านการเงินและประกันภัย กิจการพลังงาน อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่ากิจการในอุตสาหกรรมอื่นๆ เริ่มที่จะมีการลงทุนทางตรงจากต่างชาติในแคนาดาเพิ่มขึ้น เช่น การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น หลายบริษัทจะเป็นลักษณะของการควบและรวมกิจการ (M&A) เช่น ในกิจการน้ำมัน และเหมืองแร่ ส่วนการลงทุนทางตรงของแคนาดาในต่างประเทศจะลงทุนมากที่สุดในสหรัฐฯ
แคนาดาออกไปลงทุนในต่างประเทศมากกว่าที่ได้รับการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมุ่งที่สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นเป็นหลัก และมีแนวโน้มจะออกไป ลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยให้ความสนใจต่อสหภาพยุโรปมากขึ้นเป็นลำดับ กิจการที่แคนาดาให้ความสนใจ ได้แก่ พลังงาน โลหะ การเงินและประกันภัย เป็นที่น่าสังเกตว่า การลงทุนของแคนาดาในต่างประเทศจะเปลี่ยนจากการลงทุนในกิจการที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ไปสู่การลงทุนในการผลิตเครื่องจักรกล การขนส่ง การเงินและการประกันภัย ภาคบริการและการค้าปลีก ดังนั้น จะพบว่าการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในแคนาดาส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นกิจการที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ในขณะที่การลงทุนทางตรงในต่างประเทศของแคนาดาให้ความสนใจในกิจการด้านการเงินและการประกันภัย
สังคม
สังคมของแคนาดาเป็นสังคมที่มีส่วนผสมของชนชาติต่างๆ มากมาย โดยชนชาติที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากที่สุด ระหว่างปี ค.ศ. 1991-2000 คือคนจากเอเชีย (จีน อินเดีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ อิหร่าน) ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 59.5 ของคนเข้าเมืองเพื่อตั้งถิ่นฐานในแคนาดา โดยในปี ค.ศ. 1962 รัฐสภาแคนาดาได้ออกกฎหมายคนเข้าเมืองตามข้อเสนอของพรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งยังคงมีผลบังคับใช้จนทุกวันนี้ สาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวคือการยกเลิกการเลือกประติบัติ (ก่อนหน้านี้ มีการออกกฎหมายปี ค.ศ. 1887 เพื่อกีดกันการเข้าเมืองของคนจีน และต่อมาปี ค.ศ. 1910 ได้ออกกฎหมายที่ใช้หลักการแหล่งกำเนิด แบ่งเป็น preferred ซึ่งคือ กลุ่มคนยุโรป และ non-preferred ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ใช่ยุโรป) กล่าวคือ การเปิดรับคนเข้าเมืองจากทุกที่อย่างเป็นทางการทั่วไป และการใช้วิธีการคิดคะแนนประเมินน้ำหนัก (point system) ว่าสมควรรับผู้ใดเข้าไปตั้งถิ่นฐานในแคนาดา ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า แคนาดามองเรื่องการรับคนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอย่างเป็นการถาวร เพื่อเป็นฐานการเก็บภาษีให้แก่รัฐบาลกลางและรัฐบาลมณฑลของแคนาดา
ค่านิยมหลักของสังคมแคนาดาที่ฝังลึกในทุกคนคือการส่งเสริม และเคารพในสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานสำคัญที่สุดของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สังคมแคนาดาจะสนใจอย่างยิ่งต่อพัฒนาการในประเทศที่มีระบอบการปกครองที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับแคนาดา
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับแคนาดา
ด้านการทูต
ไทยและแคนาดาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันมาเป็นเวลา 46 ปี ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2504 และเปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงออตตาวา มีเขตอาณาครอบคลุมเกรนาดา และตรินิแดดและโตเบโก รวมทั้งได้จัดตั้งสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์ โดยมีนายโฆษิต ฉัตรไพบูลย์ ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่เพื่อดูแลมณฑลด้านตะวันตกของแคนาดา เอกอัครราชทูตไทยคนปัจจุบันคือ นายสนั่นชาติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ซึ่งเข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2547 สถานเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย มีเขตอาณาครอบคลุมพม่าและลาว โดยเอกอัครราชทูตแคนาดาคนปัจจุบันคือ นาย Denis Comeau ซึ่งเข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2547

ด้านการเมือง
ไทยกับแคนาดามีแนวนโยบายที่สอดคล้องกัน โดยยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ให้ความสำคัญต่อประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน และมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดในด้านความมั่นคงมนุษย์ ปัญหาความยากจน และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ และช่วงหลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน 2544 ไทยให้ความร่วมมือในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้ายกับสหรัฐฯ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของแคนาดาที่ได้ยกระดับนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายขึ้นเป็นอันดับแรกของนโยบายต่างประเทศเช่นเดียวกับสหรัฐฯ

ไทยกับแคนาดาได้ร่วมมือกันอย่างแข็งขันในฐานะประเทศผู้ริเริ่มให้ความสำคัญในประเด็นทางด้านสังคมและการพัฒนา ได้แก่ โครงการส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network: HSN) และการเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต และโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หรืออนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Convention on the Prohibition of the Use, Stockpiling, Production and Transfer of Anti-personnel Mines and on Their Destruction)

ด้านการค้า
มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับแคนาดาในปี 2548 รวม 1,559.4 ล้าน USD เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 ไทยเกินดุลการค้า 511.3 ล้าน USD
- ไทยส่งออก 1,238.7 ล้าน USD เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 19.65 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2548-2549 ปริมาณการค้ารวมระหว่างไทยกับแคนาดามีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 1,476.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2549 การค้าระหว่างไทยและแคนาดามีมูลค่า 1,714.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.67 จากปี 2548 และคิดเป็นสัดส่วนการค้าร้อยละ 0.7 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย ทั้งนี้ แคนาดาเป็นคู่ค้าอันดับที่ 26 ของไทย
การส่งออกสินค้าจากไทยไปแคนาดามีมูลค่า 1,238.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 19.65 การนำเข้าสินค้าจากแคนาดามาไทยมีมูลค่า 502.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2548 ร้อยละ 4.06 สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปแคนาดาในปี 2549 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และกุ้งสดและกุ้งแช่แข็ง
- ไทยนำเข้า 524.0 ล้าน USD เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.22 สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากแคนาดาในปี ๒๕๔๙ ได้แก่ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ และปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์
มณฑลที่เป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยได้แก่ มณฑลออนแทรีโอ บริติชโคลัมเบีย ควิเบก และแอลเบอร์ตา อย่างไรก็ดี ไทยมีคู่แข่งจากเอเชียที่สำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และมาเลเซีย


ด้านการลงทุน
การลงทุนของแคนาดาในไทยมีไม่มากนัก ระหว่างปี ๒๕๒๘-๒๕๔๙ โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและดำเนินการแล้วมีจำนวน ๕๐ โครงการ มูลค่าการลงทุน ๓๓,๔๗๖.๗ ล้านบาท ทั้งนี้ การลงทุนของแคนาดาในไทยเป็นการลงทุนขนาดเล็กต่ำกว่า ๕๐ ล้านบาท มีเพียงบริษัท Celestica (Thailand) จำกัดที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งขยายฐานการผลิตมาไทย ประเทศในเอเชียที่นักลงทุนแคนาดาสนใจเข้าไปลงทุนได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฮ่องกงตามลำดับ และคาดว่า ในอนาคตไทยไม่ใช่แหล่งรองรับการลงทุนที่สำคัญสำหรับแคนาดา อย่างไรก็ดี แคนาดาเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีด้านชีวภาพและบริการด้านการแพทย์ ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ต่อไทยในการยกระดับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และเพิ่มความเข้มแข็งในการแข่งขันในตลาดโลกได้ หากมีความร่วมมือในด้านการลงทุนมากขึ้น จากสถิติการลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โครงการลงทุนจากแคนาดาที่ได้รับอนุมัติในปี ๒๕๔๙ มีจำนวนทั้งสิ้น ๒ โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนสุทธิ ๓๔.๓ ล้านบาท


ด้านการพัฒนา
แคนาดาได้ยกระดับความสัมพันธ์กับไทยจากเดิมในรูปแบบประเทศผู้ให้กับประเทศผู้รับเป็นรูปแบบการเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน (Partnership) เนื่องจากระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยที่สูงขึ้น จึงเอื้ออำนวยที่ไทยจะมีบทบาทในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับแคนาดาในการดำเนินนโยบายส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์และเป็นที่สนใจร่วมกัน ได้แก่ การต่อต้านการก่อการร้าย ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและวิชาการด้านการป้องกันประเทศ การปราบปรามยาเสพติด การลักลอบค้ามนุษย์ และการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น
ในช่วงเหตุการณ์คลื่นสึนามิแคนาดาได้ให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ระยะแรกในการช่วยค้นหาและกู้ภัย โดยได้ส่งคณะแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชและจิตเวชประมาณ ๒๑ คนมายังภาคใต้ และในระยะฟื้นฟู CIDA จะร่วมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์จัดทำโครงการฟื้นฟูบูรณะชุมชนและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยเน้นด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรใต้ทะเล และการฟื้นฟูชายฝั่งทะเล ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเสนอและวางแผนจัดทำโครงการ


ด้านการท่องเที่ยว
แคนาดาเป็นตลาดนักท่องเที่ยวที่สำคัญจากภูมิภาคอเมริกา โดยในปี 2004 มีนักท่องเที่ยวแคนาดาไปเที่ยวประเทศไทยประมาณ 120,000 คน ระยะเวลาพำนักในประเทศไทยเฉลี่ยประมาณ 12 วัน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันในประเทศไทยประมาณ 75 ดอลลาร์แคนาดา ส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายในหมวดของการจับจ่ายสินค้า จึงกล่าวได้ว่า แนวโน้มของตลาดแคนาดาค่อนข้างดีสำหรับไทย

ด้านกงสุล
ปัจจุบันมีคนไทยในแคนาดาประมาณ ๘,๐๐๐ คน โดยมลฑลที่มีคนไทยอาศัยอยู่มากที่สุด คือ มณฑลออนแทรีโอประมาณ ๓,๕๕๐ คน (โดยมากอาศัยอยู่ที่นครโทรอนโตและกรุงออตตาวา) มณฑลบริติชโคลัมเบียประมาณ ๑,๘๑๐ (โดยมากอาศัยอยู่ที่นครแวนคูเวอร์) และมณฑลควิเบกประมาณ ๑,๓๘๕ คน (โดยมากอาศัยอยู่ที่เมืองมอนทรีออล) ตามลำดับสาขาที่คนไทยเข้าไปประกอบอาชีพและลงทุนในแคนาดา ได้แก่ ร้านอาหารไทยซึ่งมีจำนวนประมาณ ๒๒๕ ร้านทั่วแคนาดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นครโทรอนโตซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๐๒ ร้าน กรุงออตตาวาประมาณ ๒๐ ร้าน และนครแวนคูเวอร์ประมาณ ๕๐ ร้าน
คนไทยส่วนใหญ่อีกจำนวนหนึ่งเป็นกลุ่มที่ติดตามคู่สมรสชาวแคนาดามาอยู่แคนาดา หลายคนมีส่วนสำคัญในการช่วยงานสมาคมไทยในเมืองต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีคนไทยจำนวนหนึ่งที่เดินทางไปศึกษาในแคนาดาและตัดสินใจตั้งถิ่นฐาน ทำงานในแคนาดา บ้างเป็นอาจารย์ บ้างทำงานเป็นพนักงานรัฐบาลแคนาดา และได้รวมตัวจัดตั้งสมาคมนักวิชาชีพไทยในสหรัฐฯ และแคนาดา (Association of Thai Professional in America and Canada - ATPAC)
สืบเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้านเกษตรในแคนาดา ทำให้แคนาดามีความต้องการแรงงานจากต่างประเทศ โดยได้กำหนดให้แรงงานต่างชาติเข้าไปทำงานในฟาร์มเกษตร ลักษณะแรงงานตามฤดูกาล (seasonal workers) และให้ทำงานได้คราวละไม่เกิน ๑ ปี โดยขณะนี้มีแรงงานเกษตรของไทยเข้าไปทำงานในแคนาดาประมาณ ๕๐๐ คน ไทยและแคนาดามีความแตกต่างในมุมมองเกี่ยวกับ แรงงานไทยในแคนาดา โดยฝ่ายไทยมองถึงการขยายตลาดแรงงานไทยไปต่างประเทศ แต่แคนาดามองในแง่การตั้งถิ่นฐานของคนต่างชาติในแคนาดา ซึ่งจะเป็นฐานเสียภาษีให้แคนาดาต่อไป

กงสุลกิตติมศักดิ์
กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยในแคนาดา
1. Mr. Louis P. Desmarais
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครมอนทรีออล (มณฑลควิเบก)
2. Mr. Horst Gergen Paul Koehler
รองกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครแวนคูเวอร์ (มณฑลบริติชโคลัมเบีย)
3. Mr.Richard C. Meech
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครโทรอนโต (มณฑลออนแทรีโอ)
4. Mr. William A. Dickinson
กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ นครโทรอนโต (มณฑลออนแทรีโอ)
5. Mr. John R. Lacey
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครแคลการี (มณฑลอัลเบอร์ตา)
6. Mr. Dennis L. Anderson
กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ นครเอ็ดมันตัน (มณฑลอัลเบอร์ตา)
7. Mr. Dennis G. Laliberte
รองกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ นครเอ็ดมันตัน (มณฑลอัลเบอร์ตา)

กงสุลกิตติมศักดิ์แคนาดาในไทย
นายนิตย์ วังวิวัฒน์ กงสุลกิตติมศักดิ์แคนาดาประจำจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1994 นายนิตย์ฯ เป็นเจ้าของบริษัท Chiangmai Thai-Canadian Venture และเป็นประธานสมาคมผู้ผลิตชาแห่งประเทศไทย

ความตกลงเมืองพี่เมืองน้องกับแคนาดา (ที่ลงนามแล้ว)
เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี-เมือง Courtenay 8 กรกฎาคม 2537
เทศบาลนครเชียงใหม่-เมืองโอซาวา มลรัฐโตรอนโต 7 พฤศจิกายน 2540
ความตกลงที่สำคัญ ๆ กับไทย
2.1 ความตกลงด้านการพาณิชย์ (Exchange of Notes on Commerce) ลงนามเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2512
2.2 ความตกลงประกันภัยการลงทุนต่างประเทศ ค.ศ. 1983 (Exchange of Notes Constituting an Agreement Relating to Canadian Investment Insurance Agreement) ลงนามเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2526
2.3 อนุสัญญาว่าด้วยการหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีซ้อน (Convention for the Avoidance of Double Taxation) ลงนามเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2528
2.4 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-แคนาดา (Agreement of Economic Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of Canada) ลงนามเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2531 โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจไทย-แคนาดา เมื่อเดือนมิถุนายน 2539
2.5 ข้อตกลงทวิภาคีสิ่งทอเพื่อควบคุมปริมาณการส่งออกสินค้าเสื้อผ้าและสิ่งทอไปแคนาดา ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 ได้ถูกผนวกเข้ากับความตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเสื้อผ้าภายใต้ WTO (Agreement on Textile and Clothing : ATC) และกำหนดยกเลิกโควต้าภายใน 10 ปี
2.6 ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2540
2.7 ความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมกันในเรื่องการตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ และระบบควบคุม (Mutual Recognition Agreement on the Equivalence of Fish Inspection and Control System : MRA) ลงนามเมื่อวันที่ 9 เมษายน2540
2.8 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย และกระทรวงสิ่งแวดล้อมแคนาดา ลงนามเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2540
2.9 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อตั้งความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ ลงนามเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2540
2.10 บันทึกความเข้าใจว่าด้วย CIDA Regional Project Southeast Asia Fund for Institutional and Legal Development ลงนามเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2543

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

ออโรรา

ออโรรา

แสงออโรราบนท้องฟ้า
ออโรรา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด
ปรากฏการออโรราเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 200 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวกาศ

ความหมายของชื่อ
แสงเหนือ ตามประวัตินั้นมีชื่อมากมายหลายชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์นี้ คือ ออโรรา บอเรลลีส (Aurora Borealis) ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า รุ่งอรุณสีแดงแห่งทิศเหนือ ซึ่งตั้งชื่อโดย กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) (ค.ศ. 1564 – 1642)
คำว่า "Aurora Borealis" แปลว่า "แสงเหนือ" (Northern Light) ส่วน "Aurora Australis" แปลว่า "แสงใต้" (Southern Light) และคำว่า "Aurora Polaris" แปลว่า "แสงขั้วโลก" ใช้เรียกทั้งแสงเหนือและแสงใต้

สาเหตุการเกิด
ก่อนเราจะทำความรู้จัก กับ ออโรรา เราต้องรู้ข้อเท็จจริงที่มา มีสิ่งมากมายในอวกาศที่เรามองไม่เห็น อย่างแรกก็คืออากาศที่เราหายใจ บรรยากาศของเรา ประกอบด้วยแก๊สมากมายจริงๆ แต่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไนโตรเจน และ ออกซิเจน ตามมาด้วยไฮโดรเจน ฮีเลียม และ ธาตุอื่นๆ อีกมากมาย
อีกอย่างที่เรามองไม่เห็น ก็คือ สนามแม่เหล็กซึ่งมีอยู่รอบๆ โลกของเรา ถ้าคุณเคยเล่นแท่งแม่เหล็กกับเศษเหล็กละก็ คุณต้องเคยเห็นเหล็กเรียงตัวเป็นรูปโค้งที่เกิดจากสนามแม่เหล็กแน่ รูปต่อไปแสดงให้เห็นสนามแม่เหล็กของโลก ที่อยู่รอบแกนโลก และมีลักษณะเหมือนกับ สนามแม่เหล็กรอบแท่งแม่เหล็ก แม่เหล็กโลกอยู่ลึกลงไปในแกนโลก แม้เราจะมองไม่เห็นสนามแม่เหล็ก แต่เราสามารถวาดรูปประกอบได้ สนามแม่เหล็กพุ่งออกและเข้าสู่ ขั้วแม่เหล็กโลก ซึ่งเส้นที่อยู่ใกล้ชิดกันมากที่สุด จะแทนสนามที่เข้มที่สุด และที่ที่ห่างกัน ก็แทนสนามแม่เหล็กที่อ่อน แล้วคุณบอกได้หรือยัง ว่าสนามแม่เหล็กตรงไหนเข้ม ตรงไหนอ่อน?
สิ่งที่มองไม่เห็น สิ่งที่สาม (ที่จะกล่าวถึง) คือ พลาสมาที่อยู่ในอวกาศรอบๆ โลก พลาสมานี้เกิดจาก อนุภาคมีประจุจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็น อิเล็กตรอน และอนุภาคบวก ที่อยู่รอบๆ สนามแม่เหล็กโลก อนุภาคเหล่านี้มักจะเคลื่อนที่พิเศษจากเดิมคือ จะเคลื่อนไปตาม สนามแม่เหล็กโลก และหมุนรอบเส้นนั้นเป็นเกลียวยาว อนุภาคมีประจุเหล่านี้ คือ “ลูกกระสุน (Ammunition)” ของออโรรา อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ( ก็อิเล็กตรอนนั่นแหละ) จะเคลื่อนที่ไปตามแนวสนามแม่เหล็กโลกแล้วพุ่งลงไป ยังบรรยากาศชั้นบน ซึ่งทำให้ไปชนกับอะตอมของแก๊ส ผลที่เกิดก็คือ มีแสงเกิดขึ้น

สถานที่และโอกาสการเกิดออโรรา
ในเขตที่มีการปรากฏของออโรรา สามารถสังเกตออโรราได้ทุกคืนที่ฟ้าโล่งในฤดูหนาว โดยมีข้อสังเกตดังนี้
ออโรราจะปรากฏบ่อยครั้ง ตั้งแต่เวลา 22.00 น ถึง เที่ยงคืน
ออโรราจะสว่างจ้าในช่วง 27 วันที่ดวงอาทิตย์หันด้านแอคทีฟ (Active Area) มายังโลก
ช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ ในเดือนตุลาคม กุมภาพันธ์ และ มีนาคม เป็นเดือนที่เหมาะสำหรับการชมออโรราทางซีกโลกเหนือ
ออโรรามีความสัมพันธ์กับจุดสุริยะ (Sun Spot) บนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวัฎจักรประมาณ 11 ปี แต่ดูเหมือนว่า จะมีการล่าช้าไป 1 ปีสำหรับการเกิดจุดดับมากที่สุดกับการเกิดออโรรามากที่สุด
ตารางที่ 1 แสดงความถี่ในการปรากฏออโรราในสถานที่ต่างๆทั่วโลก
ออโรราจะปรากฏลดลง 20-30% กว่าตอนที่เกิดจุดสุริยะมากที่สุด เมื่อเกิดจุดสุริยะบนดวงอาทิตย์น้อยที่สุด
ออโรราจะปรากฏในแถบประเทศเมดิเตอเรเนียนเมื่อเกิดจุดสุริยะหรือมีลมสุริยะมากๆ อาจถึง 10 ปีต่อครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วเกิด 100 ปีต่อครั้ง

สถานที่ปรากฏออโรรา
บริเวณที่เกิดออโรราเป็นบริเวณรูปไข่ (Oval-shape region) รอบๆ ขั้วแม่เหล็กของโลก โดยรูปไข่จะเบ้ไปทางด้านกลางคืนของโลก เมื่อออโรราสงบ รูปไข่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3000 กิโลเมตร แต่เมื่อเกิดออโรรารุนแรงขึ้น รูปไข่จะกว้างขึ้นกว่า 4000 หรือ 5000 กิโลเมตร เนื่องจากขั้วแม่เหล็กเหนือของโลกอยู่ทางตอนเหนือของแคนาดา ออโรรา โบเรลลีส (Aurora Borealis) จึงพบมากที่เส้นรุ้ง (Latitude) ที่มีประชากรอาศัยมากในซีกโลก (hemisphere) ตะวันตก ส่วนออโรราออลเตรลีส (Aurora Australis) สามารถมองเห็นได้จากเกาะทัชมาเนีย (Tasmania) และทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์

เสียงของออโรรา
มีข้อโต้เถียงกันมานานเกี่ยวกับเสียงของออโรราว่ามันสามารถได้ยินโดยผู้สำรวจบนพื้นโลกหรือไม่ คลื่นเสียงนั้นมีความถี่ประมาณ 340 เมตรต่อวินาทีในอากาศบนระดับพื้นโลก แต่ที่ความสูง 80 ถึง 500 กิโลเมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่ออโรราปรากฏนั้นอยู่ใกล้สุญญากาศมาก ทำให้เป็นเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดเสียงขึ้น กระนั้น ก็มีรายงานมากมายว่าได้ยินเสียงระหว่างเกิดออโรรา เสียงที่ได้ฟังนั้น ไม่ใช่เป็นเสียงที่บันทึกจากออโรราโดยตรง แต่เป็นเสียงที่บันทึกจาก แมกนีโตมิเตอร์ (Magnetometer) เสียงที่เปลี่ยนไปคือการเปลี่ยนไปของสนามแม่เหล็กซึ่งเกิดจากอนุภาคสุริยะ (Solar Particles)
แหล่งที่มาและระดับพลังงานของอนุภาค
ออโรราที่ปรากฏนั้นเกิดจากอนุภาคมีพลังงานเคลื่อนที่ตามเส้นสนามแม่เหล็กมาจากเมกนีโตเทล (Magnetotail) มาสู่บรรยากาศชั้นบน อนุภาคส่วนใหญ่คืออิเล็กตรอน แต่โปรตอนและไอออนอื่น ก็อาจพบได้ เมื่ออนุภาคมีประจุ (Charged Particles) พุ่งมาจาก แมกนีโทสเฟียร์ (Magnetosphere) มาสู่บรรยากาศชั้นบน จะเกิดการชนกับแก๊สที่ไม่มีความสำคัญอะไรที่นั่น
อนุภาคออโรราเป็นเพียงหนึ่งในหลายอนุภาคมีประจุที่กระหน่ำมายังโลก รวมถึงอนุภาคที่มีพลังงานฟลักซ์มหาศาลในช่วง พันล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (GeV) หรือล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV) อย่างเช่น รังสีคอสมิค (Cosmic Rays) อนุภาคจากแถบกัมมันตรังสี (Radiation Belt) พลังงานสูง และอนุภาคสุริยะ (Solar Energetic Particles) ส่วนอนุภาคออโรรานั้นเกิดขึ้นในแผ่นพลาสมาแม่เหล็ก (Magnetospheric Plasma Sheet) และมีพลังงานอยู่ในช่วง 1 ถึง 10 พันอิเล็กตรอนโวลต์ (keV) แต่บางทีอาจมีพลังงานมากถึง 100 พันอิเล็กตรอนโวลต์ (keV) และอนุภาคพลังงานต่ำ เช่น ลมสุริยะที่เข้าสู่แมกนีโตสเฟียร์ทาง ซีกโลกกลางวัน (Dayside Cusp ) ใกล้กับขั้วแม่เหล็กโลก เป็นต้น ความลึกที่อนุภาคเหล่านี้จะเจาะเข้าไปในชั้นบรรยากาศ ขึ้นอยู่กับพลังงานของมัน ยิ่งพลังงานมากยิ่งเข้าได้ลึก รังสีคอสมิค สามารถเดินทางไปถึงชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) หรืออาจลึกไปถึงพื้นโลก อนุภาคจากแถบกัมมันตรังสีและอนุภาคสุริยะพลังงานสูง เข้ามาได้ถึงชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) และชั้นมีโซสเฟียร์ (Mesosphere) ส่วนออโรรานั้นมาได้แค่ชั้นเทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) ซึ่งสูงประมาณ 100 กิโลเมตร นั่นทำให้ออโรราเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศนี้

สีของออโรรา
ดวงอาทิตย์ปล่อยแสงทุกสีที่มองเห็นได้ออกมาก ทำให้เราเห็นแสงอาทิตย์เป็นสีขาว ส่วนสเปคตรัมของออโรรา ก่อนจะศึกษารายละเอียด เราต้องรู้เรื่อง สาเหตุการเกิดแสงก่อน
ในบรรยากาศประกอบด้วยไนโตรเจน และ ออกซิเจน เป็นหลัก อนุภาคของแก๊สเหล่านี้จะปลดปล่อยโฟตอนซึ่งมีความยาวคลื่นคงที่ เมื่ออนุภาคมีประจุไฟฟ้า กระตุ้นแก๊สในบรรยากาศ อิเล็กตรอนจะเริ่มเคลื่อนที่รูปนิวเคลียสในวงโคจรที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีพลังงานเหลือเฟือ อนุภาคที่ถูกกระตุ้นจะไม่เสถียรและจะปลดปล่อย พลังงานออกมาในรูปของแสง เรียกว่าแสงนี้ว่า ออโรรา
แสงสีเขียวเข้ม เกิดที่ความสูง (Altitudes) ที่ 120 ถึง 180 กิโลเมตร แสงเหนือสีแดงปรากฏที่ความสูงที่สูงกว่า ส่วนสีฟ้า และม่วงปรากฏที่ความสูงต่ำกว่า 120 กิโลเมตร เมื่อเกิดพายุสุริยะ 000 แสงสีแดงจะปรากฏที่ความสูงตั้งแต่ 90 ถึง 100 กิโลเมตร
เมื่อออโรราจางลง มันจะปรากฏเป็นสีขาวเมื่อมองด้วยตาเปล่า เมื่อมันสว่างขึ้น สีจึงมองเห็นขึ้นมา และสีเขียวซีดที่เป็นเอกลักษณ์ของมันจะมองเห็นขึ้นมา
เมื่อมีความหนาแน่นมากขึ้น ในบริเวณที่ต่ำลงมาจะมองเห็นเป็นสีเขียวสด และ สีแดงจางๆ จะมองเห็นที่ความสูงมากๆ
เหนือชั้นบรรยากาศขึ้นไป 100 กิโลเมตร ประกอบด้วยโมเลกุลไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง ไนโตเจนจะมีมากที่ความสูง 10 กิโลเมตร และออกซิเจน มีมากที่ 200 กิโลเมตร เส้นกราฟสีเขียวแสดงความหนาแน่นของก๊าซออกซิเจนและสีม่วงแสดงความหนาแน่นของก๊าซไนโตรเจน ณ ความสูงต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศเทอโมสเฟียร์ เมื่ออะตอมออกซิเจนถูกกระตุ้น มันจะปล่อยแสงมากมายหลายสีออกมาก แต่สีที่ที่สว่างที่สุดคือที่แดงและสีเขียว

ความสูงของออโรรา (จากพื้นโลก)
ตั้งแต่ปี 1915 เป็นต้นมา ความสูงของออโรราเป็นที่โต้เถียงกันในวงการวิทยาศาสตร์ จนในปี ค.ศ. 1910 – 1940 คาร์ล สตอร์เมอร์ (Carl Størmer) ได้ใช้หลักการพาราแล็กซ์ (Parallax)ในการวัดขนาด นักสำรวจ 2 คนที่ความสูง 50 ถึง 100 กิโลเมตรโดยใช้ภาพออโรรา 2 ภาพที่ถ่ายในเวลาเดียวกัน และใช้แผนที่ดวงดาว อ่านขนาดมุม และคำนวณหาความสูง
ภาพพาราแล็กซ์กว่า 20000 ภาพ ทำให้สตอร์เมอร์คำนวณความสูงของออโรราอย่างแม่นยำ ออโรราในยามค่ำคืนจะพบที่ความสูง 90 ถึง 150 กิโลเมตร มีบางส่วนที่อาจแผ่กว้างถึง 500 กิโลเมตร แต่โดยเฉลี่ย มีความสูงที่ 100 ถึง 120 กิโลเมตร
เราใช้เครื่องวัดแสง ที่เรียกว่า ออโรรา โฟโตมิเตอร์ (Aurora Photometre)

ออโรราในดาวดวงอื่น
นอกจากออโรราจะปรากฏในโลกแล้ว ยังปรากฏในดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีชั้นบรรยากาศและสนามแม่เหล็ก ทั้งออโรราของดาวพฤหัสและดาวเสาร์ปล่อยอะตอมในบรรยากาศที่ถูกกระตุ้นโดยพลังงาน อนุภาคมีประจุล้วนเกิดจากแมกนีโตสเฟียร์ของดาวนั้นๆ แมกนีโตสเฟียร์จึงต่างจากโลกมาก รวมทั้งสีและการปรากฏของออโรราก็ไม่เหมือนกับในโลก แต่รูปไข่ยังเหมือนกับโลกอยู่ การเกิดออโรราจึงเหมือนกันทั้งระบบสุริยะจักรวาล
นอกจากนี้ ยังมีออโรราของดวงจันทร์ ดาวศุกร์และดาวอังคารอีกด้วย

ดวงอาทิตย์ กับ ออโรรา
ดวงอาทิตย์ ก็มีชั้นบรรยากาศ และ สนามแม่เหล็กเช่นกัน ชั้นบรรยากาศประกอบด้วยไฮโดรเจน ซึ่งตัวมันเองก็ประกอบด้วยอนุภาคย่อย: โปรตอน กับ อิเล็กตรอน อนุภาคเหล่านี้ ถูกเผาไหม้โดยดวงอาทิตย์ แ
ลมเหล่านี้มักจะถูกผลักเมื่อมาชนกับสนามแม่เหล็กโลก และเปลี่ยนรูปร่าง เหมือนกับเราเปลี่ยนรูปร่างของฟองสบู่เมื่อเราเป่าบนพื้นผิวมัน เราเรียกบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า เม็กนีโตสเฟียร์ (Magnetosphere) โดยปรากฏการณ์จะเกิดในด้านกลางวันของโลก ซึ่งลมสุริยะจะพัดมาเฉพาะทางนี้ และจะเรียวตรงเป็นหางเหมือนรอยน้ำหลังเรือแล่น เราเรียกมันว่า เม็กนีโทเทล (Magneto tail) และแน่นอน มันชี้ไปด้านตรงข้ามดวงอาทิตย์
เมื่อเกิดการบีบอัดกับสนามแม่เหล็กโลกต้องใช้พลังงาน เหมือนกับเราต้องใช้พลังงานในการกดลูกโป่งที่มีลมอยู่ข้างใน กระบวนการทั้งหมดยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด แต
ตอนนี้เรามีชั้นเม็กนีโตสเฟียร์ ซึ่งเป็นที่ที่ลมสุริยะถูกบีบอัด และ อนุภาคมีประจุก็แผ่ไปทุกที่ในสนามแล้ว อนุภาคสุริยะจากลมสุริยะ มักจะกลับเข้าสู่หางของ เม็กนีโทสเฟียร์และพุ่งตรงไปยังดวงอาทิตย์ และจากนั้น ถ้าเงื่อนไขนี้ถูกต้อง ความกดดันจากลมสุริยะก็จะทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้า ระ โวลต์ ความต่างศักย์นี้ จะผลักอิเล็กตรอน (ซึ่งมีแสงสว่าง) พุ่งสู่ขั้วแม่เหล็กโลก ด้วยความเร็วที่สูง เหมือนอิเล็กตรอนในโทรทัศน์ ที่พุ่งตรงมาชนกับจอภาพ มันเคลื่อนไปตามสนามอย่างเร็วสู่พื้นโลก ทั้งเหนือและใต้ จนกระทั่งอิเล็กตรอนจำนวนมหาศาลถูกผลักลงสู่ชั้นบรรยากาศข้างบน คือ ชั้น ไอโนโนสเฟียร์ (Ionosphere) ในชั้นนี้ อิเล็กตรอนจะพุ่งเข้าชนกับอะตอม ซึ่งทำให้อะตอมของแก๊สเกิดพลังงาน และปล่อยทั้งแสง และ อิเล็กตรอนตัวอื่นอีก และทำให้เกิดแสงในชั้นบรรยากาศนี้และชักนำให้กรมือนตอนที่มันพุ่งเข้ามา เพราพลังงานเหล่านี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของออโรรา ออโรรา มีลักษณะคล้ายกับ นีออน เว้นแต่ออโรรา เกิดกับแก๊สในชั้น ไอโอโนสเฟียร์ แทนที่จะเกิดในหลอดแก้ว และกระแสวิ่งกลับเข้าออกระหว่างสนามแม่เหล็ก แทนที่จะเป็น ลวดตะกั่ว

ปรากฏการณ์สำคัญบนดวงอาทิตย์
การปล่อยก้อนมวลจากดวงอาทิตย์ (CME) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์มีการปลดปล่อยมวลออกมา อนุภาคไฟฟ้าพลังงานสูงจะถูกปลดปล่อยออกมาด้วความเร็วสูงนับพัน กิโลเมตรต่อวินาที ปรากฏการณ์ CME นี้มักจะเกิดร่วมกับ Solar Flare หรือ Prominence (เป็นปรากฏการณ์คล้ายเปลว)
การประทุที่ดวงอาทิตย์ (Solar Flare) เป็นการระเบิดรุนแรงบนชั้น Chromospheres เกิดขึ้นบริเวณที่มี Sun Spot ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นขั้วของสนามแม่เหล็กแบบคู่ขั้ว Solar Flare ให้พลังงานสูงมาก (ประมาณว่าเท่ากับระเบิดไฮโดรเจนขนาด 100 เมกกะตันจำนวน 1 ล้านลูกรวมกัน) เนื่องจาก Solar Flare มีพลังงานสูงมาก การส่งพลังงานออกมามักอยู่ในย่านความถี่ของอัลตราไวโอเลตและรังสีเอ็กซ์ จึงสังเกตได้ยากภายใต้ย่านความถี่ของแสงขาว แต่เห็นได้ชัดเจนในย่านความยาวคลื่นที่ได้กล่าวมาแล้ว อุณหภูมิของ Solar Flare จะสูงหลายล้านเคลวิน และส่งอนุภาคประจุไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงกว่าปรกติออกมาอย่างมากมาย เกิดเป็นลมสุริยะที่มีกำลังแรงผิดปรกติ จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นพายุสุริยะ (Solar Storm)
ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ที่มีมากที่สุด (Solar Maximum) เป็นคาบของปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์ที่ทุก 11 ปี เมื่อจุดบนดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น ยิ่งมีจุดสุริยะมากเพียงใด อนุภาคสุริยะยิ่งถูกปลดปล่อยมามากเท่านั้น ปรากฏการณ์นี้เกิดล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2544 – 2545 และจะเกิดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2554 - 2555
จุดสุริยะ (Sunspot) เป็นจุดที่เกิดจากสนามแม่เหล็กบนผิวดวงอาทิตย์ที่หนาแน่นมาก อุณหภูมิบริเวณนี้จะเย็นกว่าบริเวณใกล้เคียง (เย็นกว่าประมาณ 1000 องศา) และมีสีดำกว่า จุดสุริยะนี่เองเมื่อถูกส่งออกมาสู่อวกาศ อนุภาคจะถูกสนามแม่เหล็กโลกดึงไว้และเกิดเป็นออโรรา
ลมสุริยะ (Solar Wind) เป็นแก๊สของอิเล็กตรอนและไอออนที่วิ่งมาด้วยความเร็วเหนือเสียง (Supersonic) ยิ่งมีลมสุริยะมากเท่าไร ออโรราก็เข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรมากขึ้นเท่านั้น

ออโรรากับวิถีชีวิต
การศึกษาพายุสุริยะในเวลาต่อมาได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า พายุนี้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าสะพรึงกลัวยิ่ง เพราะเมื่อเรารู้ว่า เปลวก๊าซร้อนที่พุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์นั้น นำอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าออกมากมายด้วย ดังนั้น เมื่ออนุภาคเหล่านี้พุ่งถึงชั้นบรรยากาศ เบื้องบนของโลก ถ้าขณะนั้นมีนักบินอวกาศ ร่างกายของนักบินอวกาศคนนั้นก็จะได้รับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าและรังสีต่างๆ มากเกินปกติ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ พายุอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าอาจพุ่งชนดาวเทียมที่กำลังโคจรอยู่รอบโลกจนทำให้ดาวเทียมหลุดกระเด็นออกจากวงโคจรได้ และถ้าอนุภาคเหล่านี้พุ่งชนสายไฟฟ้าบนโลก ไฟฟ้าในเมืองทั้งเมืองก็อาจจะดับ ดังเช่นเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่เมืองควิเบก ในประเทศแคนาดาเป็นเวลานาน 9 ชั่วโมง เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2532 เพราะโลกถูกพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดกระหน่ำอย่างรุนแรง
ความจริงเหตุการณ์ครั้งนั้นได้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 11 ปีมาแล้ว แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์รู้อีกว่า ทุกๆ 11 ปีจะเกิดเหตุการณ์พายุสุริยะ ที่รุนแรงบนดวงอาทิตย์อีก ดังนั้นปี พ.ศ. 2543 จึงเป็นปีที่นักวิทยาศาสตร์คาดหวังจะเห็นโลกถูกดวงอาทิตย์คุกคามอย่างหนักอีก ครั้งหนึ่ง และเมื่อขณะนี้โลกมีดาวเทียมที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ประมาณ 800 ดวงและสหรัฐอเมริกาเองก็มีโครงการจะส่งนักบินอวกาศ ขึ้นไปสร้างสถานีอวกาศนานาชาติในปีนั้นอีกเช่นกัน บุคลากรและดาวเทียมเหล่านี้จึงมีโอกาสถูกพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดกระหน่ำ จนเป็นอันตรายได้ ก็ในเมื่อเวลาพายุไต้ฝุ่นหรือทอร์นาโดจะพัด เรามีสัญญาณเตือนภัยห้ามเรือเดินทะเลและให้ทุกคนหลบลงไปอยู่ห้อง ใต้ดิน จนกระทั่งพายุพัดผ่านไป การเตือนภัยพายุสุริยะก็เป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน เพราะถ้าเรารู้ว่าพายุสุริยะกำลังจะมาถึงโลก โรงไฟฟ้า ก็ต้องลดการผลิตกระแสไฟฟ้า คือไม่ปล่อยกระแสไฟฟ้าออกจากเครื่องเต็มกำลังเพราะถ้าไฟฟ้าเกิดช็อต ภัยเสียหายก็จะไม่มาก ดังนั้น การแก้ไขล่วงหน้าก็จะสามารถทำให้ความหายนะลดน้อยลง แต่ความสามารถของผู้เชี่ยวชาญสภาวะของอวกาศ วันนี้ก็ดีพอๆ ความสามารถของนักอุตุนิยมวิทยาที่สามารถทำนายสภาพของอากาศ บนโลก เมื่อ 40 ปีมาแล้ว ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้จัดตั้งศูนย์สภาวะแวดล้อมของอวกาศ (Space Environment Center) ขึ้นมา โดยให้นักวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ทำนายสภาพของอวกาศล่วงหน้า และผลงานการพยากรณ์เท่าที่ผ่านมาได้ทำให้เรารู้ว่า คำพยากรณ์นี้มี เปอร์เซ็นต์ถูกถึง 90% ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดในหนึ่งชั่วโมง แต่เปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดก็จะสูง ถ้าเป็นกรณีการทำนายล่วงหน้า หลายวัน
เพื่อให้คำทำพยากรณ์ต่างๆ มีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องมากขึ้น องค์การนาซาของสหรัฐฯ จึงได้วางแผนส่งดาวเทียมดวงใหม่ขึ้น อวกาศเพื่อสำรวจสถานภาพของพายุสุริยะทุกลูกที่จะพัดจากดวงอาทิตย์สู่โลกในอีก 11 ปี ข้างหน้านี้
ความรู้ปัจจุบันที่เรามีอยู่ขณะนี้คือ ผลกระทบของพายุสุริยะจะรุนแรงอย่างไร และเช่นไร ขึ้นกับ 3 เหตุการณ์ต่อไปนี้ คือ
เหตุการณ์แรกเกี่ยวข้องกับจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) ซึ่งเป็นบริเวณผิวดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณส่วนอื่น และเป็น บริเวณที่สนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์สามารถทะลุออกจากดวงอาทิตย์ออกมาสู่อวกาศภายนอกได้ ดังนั้น เมื่อเกิดการระเบิดที่ผิวดวงอาทิตย์ในบริเวณนี้ กระแสอนุภาคจะถูกผลักดันออกมาตามแนวเส้นแรงแม่เหล็กนี้มาสู่โลก และเมื่อกระแสอนุภาคจากจุดดับพุ่งชนบรรยากาศเบื้องบนของโลก มันจะปะทะอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก (Ionosphere) การชนกันเช่นนี้จะทำให้เกิดกระแสประจุซึ่งมีอิทธิพลมากมายต่อการสื่อสารทางวิทยุ
เหตุการณ์สองที่มีอิทธิพลทำให้สภาวะของอวกาศระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ปรวนแปร ในกรณีมีพายุสุริยะที่รุนแรงคือ ชั้นบรรยากาศ ของโลกอาจจะได้รับรังสีเอกซ์มากกว่าปกติถึง 1,000 เท่า รังสีเอกซ์นี้ จะทำให้อิเล็กตรอนที่กำลังโคจรอยู่รอบอะตอม กระเด็นหลุดออก จากอะตอม และถ้าอิเล็กตรอนเหล่านี้ชนยานอวกาศ ยานอวกาศก็จะมีความต่างศักย์ไฟฟ้าสูง ซึ่งจะทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในยานเสีย และนั่นก็หมายถึงจุดจบของนักบินอวกาศ
ส่วนเหตุการณ์สาม ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุด เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มก๊าซร้อนหลุดลอยมาถึงโลก และเมื่อมันพุ่งมาถึงโลก สนามแม่เหล็กในก๊าซร้อนนั้นจะบิดเบนสนามแม่เหล็กโลก ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในชั้นบรรยากาศของโลกอย่างมากมาย กระแสไฟฟ้านี้ จะทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น มันจึงขยายตัว ทำให้ยานอวกาศที่เคยโคจรอยู่เหนือบรรยากาศ ต้องเผชิญแรงต้านของอากาศ ซึ่งจะมีผลทำให้ยานมีความเร็วลดลงแล้วตกลงสู่วงโคจรระดับต่ำ และตกลงโลกเร็วกว่ากำหนด