Let it be - The Beatles
บั้นปลายอายุขัยแห่งวง The Beatles หรือสี่เต่าทองที่ทุกคนรู้จัก Paul McCartney ดูจะเป็นคนเดียวที่ใช้ความพยายามสูงส่งในการที่จะทำให้ลมหายใจของวงยังคงอยู่
แต่ในช่วงปี 1968 John Lennon ก็เริ่มฟื้นตัวจากการเป็นขี้เมา"แอลเอสดี" กลับมาเป็นนายปากร้ายตัวป่วนที่พร้อมจะกัดจิกทุกคนที่ขวางหน้าหรือแม้แต่อยู่ข้างๆ George Harrison ก็เริ่มเบื่อหน่ายเต็มทนกับการต้องอยู่ใต้บารมีของ John กับ Paul แม้แต่คนง่ายๆอะไรก็ได้อย่างมือกลอง Ringo Starr มือกลองก็ยังทนความเครียดไม่ไหว ต้องหนีออกจากวงชั่วคราวไปพักหนี่งระหว่างบันทึกเสียงThe Beatles (White Album) ซึ่ง Paulเองเลยดูจะรับบทหนักอยู่คนเดียว
Let It Be กำเนิดขึ้นในคืนๆหนึ่งที่พอลนอนก่ายหน้าผากด้วยความกลุ้มในปัญหาสารพันของวง ก่อนที่จะผลอยหลับไป คืนนั้นเขาฝันถึงแมรี่-มารดาของเขาที่จากไปตั้งแต่พอลอายุแค่ 14 ในฝันเธอบอกพอลว่าอย่าไปเอาจริงจังอะไรนักกับทุกเรื่อง ให้ปล่อยมันไปเสีย สัญชาตญาณนักแต่งเพลงของพอลไม่เคยพลาด
ความฝันนี้ได้กลายมาเป็นเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาเพลงหนึ่งในยุคสุดท้ายของ Beatles และคำว่า Mary ในเพลงนี้ก็อาจมีผู้ตีความเป็นพระแม่มารีก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าผิด เพราะแนวเพลงของ Let It Be เป็นในสไตล์เพลงสวดอย่างค่อนข้างชัดเจน
John Lennon ไม่เคยชอบเพลงนี้ เขาถามพอลก่อนการซ้อมครั้งหนึ่งว่า "เอ่อ นี่เราต้องหัวเราะคิกคักไปด้วยระหว่างโซโลรึเปล่า?" John คิดว่าพอลแต่งเพลงนี้เลียนแบบ Bridge Over Troubled Water ของ Simon and Garfunkel ทั้งๆที่พอลแต่งไว้ก่อนตั้งปีนึง แถมJohn ยังเป็นเจ้ากี้เจ้าการในการตัดต่อใส่บทสนทนาล้อเลียนไว้หน้าเพลงนี้ใน Lp Let It Be อีกด้วย (Now we'd like to do Hark The Angels Come')
ถ้าจะนับว่า Let It Be เป็น Anthem ที่เยี่ยมที่สุดของ Paul เมื่อไปเปรียบมวยกับ Imagine ของJohn จะเห็นได้ชัดว่ามองกันคนละมุมแท้ๆ ขณะที่เพลงของ John เต็มไปด้วยความหวังอันยิ่งใหญ่ แต่ Let It Be คือการปล่อยวางไปตามบุญตามกรรม ผมไม่อยากตัดสินใจว่าแนวคิดใดถูก แต่หลักง่ายๆก็คือ ถ้าคุณแน่ใจแล้วว่าเรื่องไหนอยู่เหนือความควบคุมของคุณแล้วจริงๆ มันก็ต้อง Let It Be ล่ะครับ แต่อย่าไป Let It Be มันทุกเรื่องล่ะ
เพลง Let it be นี้ แต่งขึ้นโดย John Lennon และPaul Mccartney ในอัลบัมที่มีชื่อเดียวกับเพลงนี้คือ Let it be ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 12 เพลง
ความหมายในเพลงนี้ก็จะบอกคร่าวๆว่า ปล่อยมันไปเถอะ ปล่อยให้มันเป็นไป หลังพายุ ฟ้าย่อมสวยงามเสมอ พรุ่งนี้ยังมีแสงสว่างและทางออกสำหรับทุกปัญหา
Let It Be เริ่มต้นโครงการเมื่อต้นปี 1969 หลังจากที่พวกเขาพึ่งเสร็จสิ้นการบันทึกเสียงในอัลบั้ม White Album ไม่นาน แผนตอนแรกที่วางไว้คือพวกเขาจะจัดคอนเสิร์ทพิเศษขึ้นที่ไหนสักแห่ง และจะมีการซ้อมดนตรีเพื่อการแสดงครั้งนี้ โดยจะมีการถ่ายทำภาพยนตร์ระหว่างการซ้อมนี้ไว้ด้วย พวกเขาเปลี่ยนบรรยากาศมาซ้อมและถ่ายหนังกันที่ Twickenham Studio โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 2-16 มกราคม และต่อมาก็ย้ายมาบันทึกเสียงที่ Apple Studio ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม จนสิ้นเดือน วันที่ 30 พวกเขาเล่นคอนเสิร์ท บนหลังคาอันลือลั่น...
คอนเซ็พของ Session นี้คือจะเป็นการบันทึกเสียงสดๆเหมือนในยุคแรกๆของพวกเขา ไม่มีการอัดทับ เล่นผิดก็เล่นใหม่ George Martin แทบจะไม่มีบทบาทอะไรนัก Glyn Johns เป็นวิศวกรคุมเสียงมากกว่าโปรดิวเซอร์ ต่อมาพวกเต่าทองโยนเทปทั้งหมดให้เขาทำเป็นอัลบั้มออกมา ซึ่งGlyn Johns ก็ทำออกมาสองมิกซ์ แต่The Beatles ปฏิเสธงานของเขาทั้งสองครั้ง
จนพวกเต่าทองหันไปทำ Abbey Road กับ George Martin ในช่วงกลางปี 1969 และออกอัลบั้มมาเรียบร้อย โปรเจ็ค Let It Be ถูกเรียกขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้ง เมื่อถึงเวลาที่ภาพยนตร์กึ่งสารคดีที่ถ่ายทำจาก Session กำลังจะออกฉาย มันต้องการ Soundtrack จอห์นเรียกตัว Phil Spector เข้ามาจัดการทำอะไรก็ได้ให้มันออกมาเป็นอัลบั้ม ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า Paul และGeorge Martin ไม่ทราบเรื่องนี้ และขณะนั้นThe Beatles ก็ใกล้สลายวงรอมร่อ
สิ่งที่ Phil Spector ทำลงไปคือการกระทำที่ขัดกับ Concept เดิมที่ตั้งใจไว้อย่างสิ้นเชิง เขาทำทุกวิถีทางที่จะให้อัลบั้มมันออกมาดีในสไตล์ของเขา มิกซ์ใหม่ ตัดต่อ ปรับสปีด เพิ่มเสียงร้องประสาน ใส่เครื่องสาย ใส่ Echo ตัดต่อ เอาบทสนทนาแทรกลงไปนั้น ไม่ใช่ไอเดียของ Phil Spector มันเป็นสิ่งที่ตั้งใจกันไว้แต่แรกแล้ว แต่การตัดต่อใส่ลงไปของฟิลที่ทำไว้ใน Let It Be LP นั้นดูได้อารมณ์ขัน และถูกกาละเทศะกว่าที่ John ทำนัก
เบื้องหลังเพลง Let It Be ก่อนที่ The Beatles จะแตกสลาย
เมื่อ Beatles เริ่มต้นถ่ายทำ Let it be นั้น ความตั้งใจแรกคือ เก็บบันทึกขั้นตอนการทำงานของวง ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการทำอัลบั๊มใหม่ของ The Beatles ปิดท้ายด้วยการแสดงสดของ Beatles ต่อหน้าแฟนเพลง เป็นครั้งแรก หลังจากที่หยุดการแสดงไปตั้งแต่ปี 1966
แต่แทนที่จะเป็นแสดงให้เห็นการบันทึกเสียงของ The Beatles แต่ Let it be กลับกลายเป็นการบันทึกภาพเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นการแตกลายวงของ The Beatles แทน
หลังจากสี่เต่าทองบันทึกเสียงอัลบั้มสองแผ่นคู่อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘The Beatles’ แต่ทุกคนเรียกมันว่า White Album เสร็จสิ้นลง Paul Mccartney ก็ไม่ปล่อยให้อีกสามเต่าทองอยู่ว่างๆนาน (แม้ว่าในการบันทึกเสียงที่ผ่านมาจะเต็มไปด้วยความเครียดอย่างหนัก ถึงขนาดที่ว่าRingo Starr มือกลองผู้มีนิสัยที่ “อะไรก็ได้” ที่สุดแล้ว ยังรับความกดดันไม่ไหว สติแตกเผ่นออกจากวงไปในช่วงสั้นๆ) ไอเดียของพอลในคราวนี้คือให้Beatlesกลับไปสู่สิ่งที่พวกเขาเคยทำกันมาก่อนแต่ได้เลิกราไปนานตั้งแต่ปี 1966 นั่นก็คือการแสดงสดๆต่อหน้าผู้คนอีกครั้ง โดยจะมีการถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีประกอบไปด้วย ตั้งแต่การซ้อมในแต่ละวัน จนกระทั่งถึงวันคอนเสิร์ทจริงๆ ซึ่งขณะนั้นก็ยังไม่มีใครทราบว่าจะเป็นที่ไหน พวกเขายังพยายามหลีกเลี่ยงความจำเจในการบันทึกเสียงที่ Abbey Road studios ด้วยการยกทีมกันไปซ้อมและถ่ายทำกันที่ Twickenham studio แทน กำหนดการเริ่มที่ 2 มกราคม 1969
น่าเสียดายที่รูปการณ์ออกมาไม่น่าสนุกอย่างที่พอลคิด ภาพบาดใจเก่าๆกลับมาอีกครั้ง Yoko เข้ามานั่งบนแอมป์,จุ้นจ้านกับการทำงานของวง Paul เที่ยววางตัวเป็นเจ้านายสอนคนอื่นไปทั่ว โดยคนที่โดนหนักที่สุดคือ George Harrison และซ้ำร้ายกว่านั้น คือคุณภาพและปริมาณของบทประพันธ์ใหม่ๆจากจอห์นและพอลดูจะหดหายไป มันไม่น่าแปลกใจนักเพราะพวกเขาเพิ่งทุ่ม 30 เพลงเต็มๆลงไปใน White Album เมื่อสิบเอ็ดสัปดาห์ที่แล้วเท่านั้น เมื่อผสมผสานกับบรรยากาศเย็นยะเยือก การทำงานตอนเช้าที่พวกเขาไม่คุ้นเคย และการที่ทุกอย่างต้องถูกบันทึกภาพไว้ตลอดเวลา ในวันที่ 10 มกราคม ก็ถึงคิวของเต่าทองผู้เงียบขรึม George Harrison ที่น็อตหลุดจริงๆจากการทะเลาะครั้งสุดท้ายกับจอห์น เขาเดินออกไปเงียบๆ และบอกคนอื่นๆแต่เพียงว่า “See you ‘round the clubs.”
George กลับเข้าวงอีกครั้งในห้าวันต่อมาก่อนที่ John จะไปตาม Eric Clapton มาเล่นกีต้าร์แทน แต่คราวนี้ มีข้อแม้ว่าBeatles ต้องเลิกพูดเรื่องการแสดงสดอะไรนั่นเสีย และหันมาบันทึกเสียงเพลงลงอัลบั้มแทน โดยใช้เพลงที่ซ้อมๆกันมานั่นแหละ และอาจจะมีเพลงใหม่ๆเพิ่มเข้าไปอีกเล็กน้อย ทุกคนดูจะเห็นด้วย และก็เก็บข้าวของจาก Twickenham ไปบันทึกเสียงกันที่ Apple Studios ที่ Savile Row ของพวกเขาเอง แต่ก็ไม่วายต้องขอยืมอุปกรณ์บันทึกเสียงมาจาก Abbey Road เพราะ Magic Alex เพื่อนตัวแสบชาวกรีกของพวกเขาไม่อาจสร้างห้องบันทึกเสียงอัศจรรย์ 72 แทร็คอย่างที่คุยไว้ได้ (ริงโก้เล่าว่า พวกเขาได้ลองบันทึกเสียงด้วยอุปกรณ์ของอเล็กซ์จริงๆ แต่พอเอามา playback ดู เสียงที่ได้ยินมีแต่...แค่ก!! แค่ก!!. แค่ก!!!!)
แต่ในช่วงปี 1968 John Lennon ก็เริ่มฟื้นตัวจากการเป็นขี้เมา"แอลเอสดี" กลับมาเป็นนายปากร้ายตัวป่วนที่พร้อมจะกัดจิกทุกคนที่ขวางหน้าหรือแม้แต่อยู่ข้างๆ George Harrison ก็เริ่มเบื่อหน่ายเต็มทนกับการต้องอยู่ใต้บารมีของ John กับ Paul แม้แต่คนง่ายๆอะไรก็ได้อย่างมือกลอง Ringo Starr มือกลองก็ยังทนความเครียดไม่ไหว ต้องหนีออกจากวงชั่วคราวไปพักหนี่งระหว่างบันทึกเสียงThe Beatles (White Album) ซึ่ง Paulเองเลยดูจะรับบทหนักอยู่คนเดียว
Let It Be กำเนิดขึ้นในคืนๆหนึ่งที่พอลนอนก่ายหน้าผากด้วยความกลุ้มในปัญหาสารพันของวง ก่อนที่จะผลอยหลับไป คืนนั้นเขาฝันถึงแมรี่-มารดาของเขาที่จากไปตั้งแต่พอลอายุแค่ 14 ในฝันเธอบอกพอลว่าอย่าไปเอาจริงจังอะไรนักกับทุกเรื่อง ให้ปล่อยมันไปเสีย สัญชาตญาณนักแต่งเพลงของพอลไม่เคยพลาด
ความฝันนี้ได้กลายมาเป็นเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาเพลงหนึ่งในยุคสุดท้ายของ Beatles และคำว่า Mary ในเพลงนี้ก็อาจมีผู้ตีความเป็นพระแม่มารีก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าผิด เพราะแนวเพลงของ Let It Be เป็นในสไตล์เพลงสวดอย่างค่อนข้างชัดเจน
John Lennon ไม่เคยชอบเพลงนี้ เขาถามพอลก่อนการซ้อมครั้งหนึ่งว่า "เอ่อ นี่เราต้องหัวเราะคิกคักไปด้วยระหว่างโซโลรึเปล่า?" John คิดว่าพอลแต่งเพลงนี้เลียนแบบ Bridge Over Troubled Water ของ Simon and Garfunkel ทั้งๆที่พอลแต่งไว้ก่อนตั้งปีนึง แถมJohn ยังเป็นเจ้ากี้เจ้าการในการตัดต่อใส่บทสนทนาล้อเลียนไว้หน้าเพลงนี้ใน Lp Let It Be อีกด้วย (Now we'd like to do Hark The Angels Come')
ถ้าจะนับว่า Let It Be เป็น Anthem ที่เยี่ยมที่สุดของ Paul เมื่อไปเปรียบมวยกับ Imagine ของJohn จะเห็นได้ชัดว่ามองกันคนละมุมแท้ๆ ขณะที่เพลงของ John เต็มไปด้วยความหวังอันยิ่งใหญ่ แต่ Let It Be คือการปล่อยวางไปตามบุญตามกรรม ผมไม่อยากตัดสินใจว่าแนวคิดใดถูก แต่หลักง่ายๆก็คือ ถ้าคุณแน่ใจแล้วว่าเรื่องไหนอยู่เหนือความควบคุมของคุณแล้วจริงๆ มันก็ต้อง Let It Be ล่ะครับ แต่อย่าไป Let It Be มันทุกเรื่องล่ะ
เพลง Let it be นี้ แต่งขึ้นโดย John Lennon และPaul Mccartney ในอัลบัมที่มีชื่อเดียวกับเพลงนี้คือ Let it be ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 12 เพลง
ความหมายในเพลงนี้ก็จะบอกคร่าวๆว่า ปล่อยมันไปเถอะ ปล่อยให้มันเป็นไป หลังพายุ ฟ้าย่อมสวยงามเสมอ พรุ่งนี้ยังมีแสงสว่างและทางออกสำหรับทุกปัญหา
Let It Be เริ่มต้นโครงการเมื่อต้นปี 1969 หลังจากที่พวกเขาพึ่งเสร็จสิ้นการบันทึกเสียงในอัลบั้ม White Album ไม่นาน แผนตอนแรกที่วางไว้คือพวกเขาจะจัดคอนเสิร์ทพิเศษขึ้นที่ไหนสักแห่ง และจะมีการซ้อมดนตรีเพื่อการแสดงครั้งนี้ โดยจะมีการถ่ายทำภาพยนตร์ระหว่างการซ้อมนี้ไว้ด้วย พวกเขาเปลี่ยนบรรยากาศมาซ้อมและถ่ายหนังกันที่ Twickenham Studio โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 2-16 มกราคม และต่อมาก็ย้ายมาบันทึกเสียงที่ Apple Studio ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม จนสิ้นเดือน วันที่ 30 พวกเขาเล่นคอนเสิร์ท บนหลังคาอันลือลั่น...
คอนเซ็พของ Session นี้คือจะเป็นการบันทึกเสียงสดๆเหมือนในยุคแรกๆของพวกเขา ไม่มีการอัดทับ เล่นผิดก็เล่นใหม่ George Martin แทบจะไม่มีบทบาทอะไรนัก Glyn Johns เป็นวิศวกรคุมเสียงมากกว่าโปรดิวเซอร์ ต่อมาพวกเต่าทองโยนเทปทั้งหมดให้เขาทำเป็นอัลบั้มออกมา ซึ่งGlyn Johns ก็ทำออกมาสองมิกซ์ แต่The Beatles ปฏิเสธงานของเขาทั้งสองครั้ง
จนพวกเต่าทองหันไปทำ Abbey Road กับ George Martin ในช่วงกลางปี 1969 และออกอัลบั้มมาเรียบร้อย โปรเจ็ค Let It Be ถูกเรียกขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้ง เมื่อถึงเวลาที่ภาพยนตร์กึ่งสารคดีที่ถ่ายทำจาก Session กำลังจะออกฉาย มันต้องการ Soundtrack จอห์นเรียกตัว Phil Spector เข้ามาจัดการทำอะไรก็ได้ให้มันออกมาเป็นอัลบั้ม ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า Paul และGeorge Martin ไม่ทราบเรื่องนี้ และขณะนั้นThe Beatles ก็ใกล้สลายวงรอมร่อ
สิ่งที่ Phil Spector ทำลงไปคือการกระทำที่ขัดกับ Concept เดิมที่ตั้งใจไว้อย่างสิ้นเชิง เขาทำทุกวิถีทางที่จะให้อัลบั้มมันออกมาดีในสไตล์ของเขา มิกซ์ใหม่ ตัดต่อ ปรับสปีด เพิ่มเสียงร้องประสาน ใส่เครื่องสาย ใส่ Echo ตัดต่อ เอาบทสนทนาแทรกลงไปนั้น ไม่ใช่ไอเดียของ Phil Spector มันเป็นสิ่งที่ตั้งใจกันไว้แต่แรกแล้ว แต่การตัดต่อใส่ลงไปของฟิลที่ทำไว้ใน Let It Be LP นั้นดูได้อารมณ์ขัน และถูกกาละเทศะกว่าที่ John ทำนัก
เบื้องหลังเพลง Let It Be ก่อนที่ The Beatles จะแตกสลาย
เมื่อ Beatles เริ่มต้นถ่ายทำ Let it be นั้น ความตั้งใจแรกคือ เก็บบันทึกขั้นตอนการทำงานของวง ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการทำอัลบั๊มใหม่ของ The Beatles ปิดท้ายด้วยการแสดงสดของ Beatles ต่อหน้าแฟนเพลง เป็นครั้งแรก หลังจากที่หยุดการแสดงไปตั้งแต่ปี 1966
แต่แทนที่จะเป็นแสดงให้เห็นการบันทึกเสียงของ The Beatles แต่ Let it be กลับกลายเป็นการบันทึกภาพเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นการแตกลายวงของ The Beatles แทน
หลังจากสี่เต่าทองบันทึกเสียงอัลบั้มสองแผ่นคู่อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘The Beatles’ แต่ทุกคนเรียกมันว่า White Album เสร็จสิ้นลง Paul Mccartney ก็ไม่ปล่อยให้อีกสามเต่าทองอยู่ว่างๆนาน (แม้ว่าในการบันทึกเสียงที่ผ่านมาจะเต็มไปด้วยความเครียดอย่างหนัก ถึงขนาดที่ว่าRingo Starr มือกลองผู้มีนิสัยที่ “อะไรก็ได้” ที่สุดแล้ว ยังรับความกดดันไม่ไหว สติแตกเผ่นออกจากวงไปในช่วงสั้นๆ) ไอเดียของพอลในคราวนี้คือให้Beatlesกลับไปสู่สิ่งที่พวกเขาเคยทำกันมาก่อนแต่ได้เลิกราไปนานตั้งแต่ปี 1966 นั่นก็คือการแสดงสดๆต่อหน้าผู้คนอีกครั้ง โดยจะมีการถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีประกอบไปด้วย ตั้งแต่การซ้อมในแต่ละวัน จนกระทั่งถึงวันคอนเสิร์ทจริงๆ ซึ่งขณะนั้นก็ยังไม่มีใครทราบว่าจะเป็นที่ไหน พวกเขายังพยายามหลีกเลี่ยงความจำเจในการบันทึกเสียงที่ Abbey Road studios ด้วยการยกทีมกันไปซ้อมและถ่ายทำกันที่ Twickenham studio แทน กำหนดการเริ่มที่ 2 มกราคม 1969
น่าเสียดายที่รูปการณ์ออกมาไม่น่าสนุกอย่างที่พอลคิด ภาพบาดใจเก่าๆกลับมาอีกครั้ง Yoko เข้ามานั่งบนแอมป์,จุ้นจ้านกับการทำงานของวง Paul เที่ยววางตัวเป็นเจ้านายสอนคนอื่นไปทั่ว โดยคนที่โดนหนักที่สุดคือ George Harrison และซ้ำร้ายกว่านั้น คือคุณภาพและปริมาณของบทประพันธ์ใหม่ๆจากจอห์นและพอลดูจะหดหายไป มันไม่น่าแปลกใจนักเพราะพวกเขาเพิ่งทุ่ม 30 เพลงเต็มๆลงไปใน White Album เมื่อสิบเอ็ดสัปดาห์ที่แล้วเท่านั้น เมื่อผสมผสานกับบรรยากาศเย็นยะเยือก การทำงานตอนเช้าที่พวกเขาไม่คุ้นเคย และการที่ทุกอย่างต้องถูกบันทึกภาพไว้ตลอดเวลา ในวันที่ 10 มกราคม ก็ถึงคิวของเต่าทองผู้เงียบขรึม George Harrison ที่น็อตหลุดจริงๆจากการทะเลาะครั้งสุดท้ายกับจอห์น เขาเดินออกไปเงียบๆ และบอกคนอื่นๆแต่เพียงว่า “See you ‘round the clubs.”
George กลับเข้าวงอีกครั้งในห้าวันต่อมาก่อนที่ John จะไปตาม Eric Clapton มาเล่นกีต้าร์แทน แต่คราวนี้ มีข้อแม้ว่าBeatles ต้องเลิกพูดเรื่องการแสดงสดอะไรนั่นเสีย และหันมาบันทึกเสียงเพลงลงอัลบั้มแทน โดยใช้เพลงที่ซ้อมๆกันมานั่นแหละ และอาจจะมีเพลงใหม่ๆเพิ่มเข้าไปอีกเล็กน้อย ทุกคนดูจะเห็นด้วย และก็เก็บข้าวของจาก Twickenham ไปบันทึกเสียงกันที่ Apple Studios ที่ Savile Row ของพวกเขาเอง แต่ก็ไม่วายต้องขอยืมอุปกรณ์บันทึกเสียงมาจาก Abbey Road เพราะ Magic Alex เพื่อนตัวแสบชาวกรีกของพวกเขาไม่อาจสร้างห้องบันทึกเสียงอัศจรรย์ 72 แทร็คอย่างที่คุยไว้ได้ (ริงโก้เล่าว่า พวกเขาได้ลองบันทึกเสียงด้วยอุปกรณ์ของอเล็กซ์จริงๆ แต่พอเอามา playback ดู เสียงที่ได้ยินมีแต่...แค่ก!! แค่ก!!. แค่ก!!!!)
Let it be - The Beatles
When I find myself in times of trouble
Mother Mary comes to me
Speaking words of wisdom, let it be.
And in my hour of darkness
She is standing right in front of me
Speaking words of wisdom, let it be.
Let it be, let it be.
Whisper words of wisdom, let it be.
And when the broken hearted people
Living in the world agree,
There will be an answer, let it be.
For though they may be parted there is
Still a chance that they will see
There will be an answer, let it be.
Let it be, let it be. Yeah
There will be an answer, let it be.
And when the night is cloudy,
There is still a light that shines on me,
Shine on until tomorrow, let it be.
I wake up to the sound of music
Mother Mary comes to me
Speaking words of wisdom, let it be.
Let it be, let it be.
There will be an answer, let it be.
Let it be, let it be,
Whisper words of wisdom, let it be.
มันเป็นเช่นนั้นเอง*
ในยามที่ฉันได้ประสบปัญหา
องค์พระแม่มารีทรงเสด็จมาหาฉัน
ท่านประทานสาส์นแห่งปัญญาว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
และเมื่อฉันได้อยู่ในโมงยามแห่งความมืดมน
ท่านทรงปรากฏอยู่เบื้องหน้า
ทรงประทานสาส์นแห่งปัญญาว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
“มันเป็นเช่นนั้นเอง” “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
กระซิบสาส์นแห่งปัญญา “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
และในยามที่ผู้คนซึ่งอกหักผิดหวัง
ต้องยังคงอยู่ในโลกแห่งพันธสัญญา
ที่แห่งนั้นมีคำตอบอยู่เสมอว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
บางคราเราท่านต้องประสบกับการแยกจาก
มันเป็นโอกาสที่จะทำให้ได้พบเห็นว่า
มันมีคำตอบหนึ่งเสมอว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
“มันเป็นเช่นนั้นเอง” “มันเป็นเช่นนั้นเอง” ,
มันจะมีคำตอบหนึ่งเสมอว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
ในยามประสบค่ำคืนที่เมฆาคราคร่ำจนมืดมิด
ณ ที่แห่งนั้นยังมีแสงสว่างฉายมาสู่ฉัน
ซึ่งฉายตราบจนถึงวันพรุ่งนี้ “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
เมื่อฉันตื่นขึ้นมาเสนาะเสียงดนตรี
องค์พระแม่มารีทรงเสด็จมาหาฉัน
ทรงประทานสาส์นแห่งปัญญาว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
“มันเป็นเช่นนั้นเอง” “มันเป็นเช่นนั้นเอง” ,
มันมีคำตอบหนึ่งเสมอว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
“มันเป็นเช่นนั้นเอง” “มันเป็นเช่นนั้นเอง” ,
กระซิบสาส์นแห่งปัญญา “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
Mother Mary comes to me
Speaking words of wisdom, let it be.
And in my hour of darkness
She is standing right in front of me
Speaking words of wisdom, let it be.
Let it be, let it be.
Whisper words of wisdom, let it be.
And when the broken hearted people
Living in the world agree,
There will be an answer, let it be.
For though they may be parted there is
Still a chance that they will see
There will be an answer, let it be.
Let it be, let it be. Yeah
There will be an answer, let it be.
And when the night is cloudy,
There is still a light that shines on me,
Shine on until tomorrow, let it be.
I wake up to the sound of music
Mother Mary comes to me
Speaking words of wisdom, let it be.
Let it be, let it be.
There will be an answer, let it be.
Let it be, let it be,
Whisper words of wisdom, let it be.
มันเป็นเช่นนั้นเอง*
ในยามที่ฉันได้ประสบปัญหา
องค์พระแม่มารีทรงเสด็จมาหาฉัน
ท่านประทานสาส์นแห่งปัญญาว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
และเมื่อฉันได้อยู่ในโมงยามแห่งความมืดมน
ท่านทรงปรากฏอยู่เบื้องหน้า
ทรงประทานสาส์นแห่งปัญญาว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
“มันเป็นเช่นนั้นเอง” “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
กระซิบสาส์นแห่งปัญญา “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
และในยามที่ผู้คนซึ่งอกหักผิดหวัง
ต้องยังคงอยู่ในโลกแห่งพันธสัญญา
ที่แห่งนั้นมีคำตอบอยู่เสมอว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
บางคราเราท่านต้องประสบกับการแยกจาก
มันเป็นโอกาสที่จะทำให้ได้พบเห็นว่า
มันมีคำตอบหนึ่งเสมอว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
“มันเป็นเช่นนั้นเอง” “มันเป็นเช่นนั้นเอง” ,
มันจะมีคำตอบหนึ่งเสมอว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
ในยามประสบค่ำคืนที่เมฆาคราคร่ำจนมืดมิด
ณ ที่แห่งนั้นยังมีแสงสว่างฉายมาสู่ฉัน
ซึ่งฉายตราบจนถึงวันพรุ่งนี้ “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
เมื่อฉันตื่นขึ้นมาเสนาะเสียงดนตรี
องค์พระแม่มารีทรงเสด็จมาหาฉัน
ทรงประทานสาส์นแห่งปัญญาว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
“มันเป็นเช่นนั้นเอง” “มันเป็นเช่นนั้นเอง” ,
มันมีคำตอบหนึ่งเสมอว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
“มันเป็นเช่นนั้นเอง” “มันเป็นเช่นนั้นเอง” ,
กระซิบสาส์นแห่งปัญญา “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น